กำเนิดลูกเสือ


กำเนิดลูกเสือโลก
      เมื่อวันที่ ๑-๙ สิงหาคม พ.. ๒๕๕๐ (.. ๑๙๐๗) คือเมื่อ ๙๕ ปีที่ผ่านมาแล้ว มีชายสูงอายุคนหนึ่งซึ่งเคยเป็น พลโท ทหารบกอังกฤษ ชื่อ เบเดน โพเอลล์(Baden Powell) หรือเรียกย่อว่า บีพี (B.P.) ได้นำเด็กชาย ๒๑ คน ที่มีฐานะต่างกัน ไปศึกษาธรรมชาติ และอยู่ค่ายพักแรมที่ เกาะบราวน์ซี ทางตะวันออกของอังกฤษ เป็นเวลา ๙ วัน

เด็ก ชายกลุ่มนี้ ได้เป็นลูกเสือกลุ่มแรกของโลกภายใต้การนำของบีพี เด็กๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ โดยการเดินเท้าไปสำรวจสิ่งต่างๆ แบ่งหน้าที่ทำงานกันเป็นทีมและทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างมิตรภาพระหว่างกัน ดำรงชีวิตในป่าด้วยการหุงหาอาหารกินเอง นอนในเต้นท์สนาม ฝึกการสะกดรอย สังเกตรอยเท้าสัตว์ ผูกเงื่อนเชือก ปฐมพยาบาล และวิธีช่วยชีวิต ตอนกลางคืนมีการชุมนุมรอบกองไฟ และอยู่ยามป้องกันอันตราย

      กิจกรรม ที่ลูกเสือกลุ่มแรกได้ทำเมื่อเกือบร้อยปีก่อนนั้น ได้รับการถ่ายทอดมาถึงปัจจุบัน แต่ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการบางอย่างไปบ้างตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นการใช้วิทยุสื่อสารและอินเตอร์เนตเป็นต้น
บีพี  เป็นใคร
บีพี เกิดเมื่อ พ.. ๒๔๐๐ เป็นนายทหารม้าแห่งกองทัพบกอังกฤษ เคยไปรับราชการทหารอยู่ที่อินเดียเป็นเวลา ๘ ปี และต่อมาได้ไปสู้รบกับทหารฮอลันดาที่อาฟริกาใต้ ต่อมาได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียให้เป็น ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ แห่งกิลเวลล์

บีพีได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการลูกเสือไว้หลายเล่ม ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้วคือ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย  Scouting for Boys และ การท่องเที่ยว ไปสู่ความสำเร็จ Rovering to Success

บีพี  เกษียณจากทหารเมื่ออายุ ๕๐ ปีในพ.. ๒๔๕๐ และถึงแก่กรรมใน พ.. ๒๔๘๓ ขณะมีอายุ ๘๓ ปี

ความเป็นมาของลูกเสือในประเทศไทย
เมื่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระเยาว์ ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงทราบเกี่ยวกับกิจการลูกเสือที่แพร่หลายในประเทศอังกฤษ ดังนั้นเมื่อเสด็จกลับประเทศสยาม จึงทรงตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.. ๒๔๕๔ และทรงตั้งกองลูกเสือขึ้นเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๔ โดยทรงให้ความหมายของคำว่า ลูกเสือ ไว้ว่า

ลูกเสือ บ่ ใช่เสือสัตว์ไพร เรายืมชื่อมาใช้ด้วยใจกล้าหาญปานกัน

ใจกล้ามิใช่กล้าอาธรรม์ เช่น เสืออรัญสัญชาติชนคนพาล

ใจกล้าต้องกล้าอย่างทหาร กล้ากอปรกิจการแก่ชาติประเทศเขตตน

และทรงมีจุดหมายในการพัฒนาเยาวชนว่า

ข้าไม่ต้องการตำราเรียนที่เดินได้ ที่ข้าอยากได้นั้นคือ

เยาวชน ที่เป็นสุภาพบุรุษ ซื่อสัตย์ สุจริต มีอุปนิสัย ใจคอดี

เมื่อ พ.. ๒๔๖๕ คณะลูกเสือสยามได้จดทะเบียนเข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้ง(๓๑ ประเทศ)ขององค์การลูกเสือโลก และได้ส่งลูกเสือสยามไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลกตั้งแต่ ครั้งที่ ๑ ที่ประเทศอังกฤษ และครั้งต่อๆมาเป็นประจำ

มีการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านรุ่นแรกที่บ้านเหล่ากอหก อ.ด่านซ้าย จว.เลย ระหว่างวันที่ ๙๑๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ โดยมีผู้ผ่านการฝึกอบรมถึง พศ.๒๕๔๓ ราว ๖ ล้านคน 

วัตถุประสงค์ขององค์การลูกเสือ
ตามธรรมนูญของลูกเสือโลก ระบุวัตถุประสงค์ไว้ว่า

เพื่อ ให้การพัฒนาเยาวชนให้มีความเข้มแข็งเต็มความสามารถทาง ร่างกาย สมอง สังคม และจิตใจ ทั้งในด้านของแต่ละบุคคล ด้านการเป็นสมาชิกของชุมชน ด้านการเป็นพลเมืองระดับประเทศ และระดับนานาชาติ

ยุทธศาสตร์ ของกิจการลูกเสือ กระทำโดยให้การศึกษาแก่เยาวชน โดยยึดหลัก คำปฎิญาณ ๓ ข้อและกฎของลูกเสือ ๑๐ข้อ เพื่อช่วยกันสร้างโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมนุษย์ได้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ และช่วยกันสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่สังคม 

คำปฏิญาณของลูกเสือ คือ
The Scout Promise

ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า

On my honour, I promise that I will do my best

. ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

To do my duty to God and my country

. ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ

To help other people at all times

. ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

To obey the Scout Law

กฎของลูกเสือ คือ
. ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้

A scout’s honour is to be trusted.

. ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ

A scout is loyal.

. ลูกเสือมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น

A scout’s duty is to be useful and to help others.

. ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก

A scout is a friend to all and a brother to every other scout.

. ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย

A scout is courteous.

. ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์

A scout is a friend to animals.

. ลูกเสือเชื่อฟังบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ

A scout obey orders of his parents ,patrol leader or scout master without question.

. ลูกเสือมีจิตใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่องานยากลำบาก

A scout smiles and whistles under all difficulties

. ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์

A scout is thrifty.

๑๐. ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ

A scout is clean in thought ,word and deed. 

ลูกเสือไทยในปัจจุบันแบ่งออกเป็น
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1.ลูกเสือสำรอง (Cub Scout) อายุ 8-11 ปี มีคติพจน์ว่า "ทำดีที่สุด Do Our Best"
2.ลูกเสือสามัญ (boy Scout) อายุ 11-15 ปี มีคติพจน์ว่า " จงเตรียมพร้อม Be Prepared"
3.ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (Senior Scout) อายุ 15-18 ปี มีคติพจน์ว่า
" มองไกล Look Wido"
4.ลูกเสือวิสามัญ (Rover Scout) อายุ 17-23 ปี มีคติพจน์ว่า " บริการ Service"
นอกจากนี้ยังมีลูกเสือชาวบ้านและผู้บังคับบัญชาลูกเสืออีกด้วย

องค์การลูกเสือโลก

World Organization of the Scout Movement (WOSM) คือองค์กรที่ทำ
หน้าที่รักษาและดำรงไว้เพื่อความเป็นเอกภาพของขบวนการลูกเสือแห่งโลกประกอบ ด้วยประเทศสมาชิก 154 ประเทศ (พ.ศ.2545) โดยมีธรรมนูญลูกเสือ (Constitution and By-Laus of the World Organization of the Scout Movement) เป็นกฎหมายสำหรับยึดถือปฏิบัติ ในการส่งเสริมกิจการลูกเสือ
ทั่วโลกให้มีการพัฒนาและก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องตลอดไป
ขบวนการลูกเสือ เป็นขบวนการที่ให้การศึกษาแก่เยาวชนนอกโรงเรียน (non-formal education)
สำนักงานเลขาธิการลูกเสือ ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีเลขาธิการคนปัจจุบัน คือ ดร.ยาคส์ เมอริยอง (Jacques Moreillow) มีสำนักงานสาขา 5 เขต แต่ละทวีป คือ อาฟริกา (ไนไตรเคนยา) , อาหรับ(ไคโรอียิปต์) ,
เอเชียแปซิฟิก(มะนิลา ฟิลิปปินส์) , ยุโรป (เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์) และอเมริกา(ซานโฮเซ คอสตาริกา)
ประเทศไทยได้สมัครเป็นสมาชิกลูกเสือโลก รุ่นก่อตั้ง 31 ประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2465 (ค.ศ.1922)

ยุทธศาสตร์ของลูกเสือมีว่า

ยุทธศาสตร์ (Strategy) ของลูกเสือโลก 5 อย่าง คือ
1. แผนการอบรมเยาวชนลูกเสือ (Youth Program)
2. ผู้ใหญ่ช่วยกิจการลูกเสือ (Adultfin Scouth)
3. เงินสนับสนุนลูกเสือโลก (Financial Resource)
4. การบริหารงานลูกเสือ (Managemant)
5. ความก้าวหน้าของขบวนการลูกเสือ (Growth of the Movement)

คติพจน์ของลูกเสือไทย
คติพจน์ของลูกเสือไทย " เสียชีพอย่าเสียสัตย์ "
BP Boy Scout Motto
" Be Prepared"
means that a scout must always be prepared at any moment to do hiss duty and to face danger in order to help his fellowman

คติพจน์ของลูกเสือ "จงเตรียมพร้อม"
ลอร์ด เบเดน โพเอล กล่าวไว้ว่า "จงเตรียมพร้อม" หมายความว่า
ลูกเสือทุกคนต้องเตรียมพร้อมอยู่ทุกขณะเพื่อทำหน้าที่และพร้อมที่จะเสี่ยงอันตรายเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น

Rover Scout Motto
" Service "
BP said
By service , I mean the submission of self to the willing rendening of helpfulness to others , without thought of return or rewards
คติพจน์ของลูกเสือวิสามัญ "บริการ"
บีพี กล่าวไว้ว่า "บริการ" หมายความว่า การกระทำด้วยความตั้งใจ ที่จะ
ให้ผู้อื่นมีความสะดวกหรือลดปัญหา โดยไม่หวังรางวัลหรือสิ่งตอบแทนใด ๆ 

ความเป็นมาของงานชุมนุมลูกเสือ
กิจการลูกเสือซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 นั้น ได้ขยายตัวจากประเทศ
อังกฤษไปยังประเทศอื่นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่ง บีพี ดำริว่า ควรจะจัดการให้
ลูกเสือจากประเทศต่าง ๆ ได้มาพบกันในค่ายพักแรมขนาดใหญ่ โดย บีพี ใช้ชื่องานนี้ว่า " แจมโบรี-Jamboree" ซึ่งเป็นภาษาของชาวซูลูในอาฟริกา หมายความถึงการที่ชนเผ่าเรียกพรรคพวกมาชุมนุมกันจำนวนมาก แปลเป็นไทยว่า " งานชุมนุมลูกเสือ" จัดขึ้นครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่
30 ก.ค.-8 ส.ค. พ.ศ. 2463 มีลูกเสือจาก 34 ประเทศ จำนวน 8,000 คน เข้าร่วมงาน
งานชุมนุมลูกเสือได้จัดต่อเนื่องกันมา โดยขยายผลไปจัดงานระดับ
ประเทศและระดับภูมิภาค เช่น เอเชียแปซิฟิค สำหรับงานชุมนุมลูกเสือระดับโลกนั้น จะจัดงานครั้งที่ 20 ที่หาดยาว อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยคาดว่าจะมีลูกเสือทั่วโลกมาร่วมงาน กว่าร้อยประเทศ ประมาณ 24,000 คน ระหว่าง วันที่ 28 ธันวาคม 2545 ถึงวันที่ 7 มกราคม 2546

บีพี ให้คำอธิบายเกี่ยวกับงานชุมนุมลูกเสือว่า" ช่วงเวลาการเป็นลูกเสือ ของเด็กแต่ละคนนั้นมีเพียงไม่กี่ปี นับเป็นระยะที่สั้นมาก ดังนั้นจึงจะเป็นการดีที่ลูกเสือ จะได้เห็นการชุมนุมครั้งใหญ่สักครั้งหนึ่ง เพื่อให้เขาได้ทราบว่าเขาได้อยู่ในกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์เดี่ยวกัน จำนวนมากทั่วโลก แล้วจะได้สนิทสนมคุ้นเคยกับลูกเสือจากจังหวัดอื่นหรือประเทศอื่นด้วย"

บีพี สอนเรื่องระบบหมู่ลูกเสือไว้ว่า"ผลรวมของทุกสิ่งอยู่ที่นี่ ทุก ๆ คนในหมู่ลูกเสือจะแบ่งกันรับผิดชอบทั้งในบริเวณที่พักและในค่าย เพื่อให้เขามีส่วนร่วมในความสำเร็จของงานทั้งปวง"
B.P.' s outlook

งานชุมนุมลูกเสือคือ
             งานชุมนุมลูกเสือเป็นกิจกรรม สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับกลุ่มลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือ   ที่มีอุดมการณ์ตามคำปฏิญาณ 3 ข้อ และกฎของลูกเสือ 10 ข้อ เพื่อให้บรรดาลูกเสือได้มาพบกันในสถานทีเดี่ยวกัน ในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณหนึ่งสัปดาห์ เพื่อทำความรู้จักแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมอยู่ ร่วมคิด ร่วมทำ อย่างเป็นทีมด้วยความสนุกสนาน โดยไม่มีอุปสรรคจากเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา หรือกลุ่มลัทธิการเมืองใด ๆ
             งานชุมนุมลูกเสือ มีวิธีการพิเศษที่แตกต่างจากการแข่งขันกีฬา การอบรมสัมมนา นิทรรศการ งานแสดงสินค้า การประชุมนานาชาติ หรือการซ้อมรบของทหารแต่อาจมีบางส่วนคล้ายคลึงกันบ้าง เนื่องจากมีผู้เดินทางมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องเตรียมอาหารที่พักและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น ๆ
 

เป้าหมายของงานชุมนุมลูกเสือคือ
งานชุมนุมลูกเสือ มีเป้าหมาย 5 ประการ คือ
1. ผจญภัย (Advanture)
2. ได้เพื่อน (Comradeship)
3. เถื่อนธาร (Outdoorlife)
4. การสนุก (Fun)
6. สุขสม (Achievement)

การแบ่งกองและหมู่ลูกเสือ
ลูกเสือที่เข้าชุมนุม แบ่งออกเป็น
หมู่ ๆ ละ 8 คน 4หมู่เป็น 1 กอง 32 คน
ผู้บังคับบัญชา 8 คน
รวมหนึ่งกอง troop 40 คน

ทำไมลูกเสือต้องหุงหาอาหารกินเอง ไม่ไปซื้อแบบสำเร็จ
บีพี  กล่าวไว้ว่า
ไม่มีความสุขใดจะเทียบได้กับการที่ได้หุงหาอาหารกินเอง เหนือกองไฟในตอนเย็นของแต่ละวัน และไม่มีกลิ่นใดที่เหมือนกับกลิ่นของกองไฟนั้น
การทำอาหารในครัว ช่วยให้ลูกเสือได้ชื่นชมกับความซับซ้อนในการปรุงอาหารที่แม่ของตนทำให้กิน ที่บ้าน ทำให้ลูกเสือได้เข้าใจมากขั้นและกลายเป็นคนที่อดทนยิ่งขึ้นของครอบครัว
- คนเอเชียนิยมกินข้าว ถึงขนาดเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และจะต้อง
ตระหนักว่า บางชาติใช้ตะเกียบและถ้วยในการกินอาหาร
- คนบางกลุ่มกินแต่ผัก(Vegetarian) บางกลุ่มไม่กินเนื้อวัว บางกลุ่ม
ไม่กินเนื้อหมู บางคนแพ้อาหารทะเล หรือเครื่องในสัตว์

งานชุมนุมลูกเสือ แตกต่างจากงานอื่นอย่างไร
งานชุมนุมลูกเสือ ไม่จัดในอาคารโรงแรม หรือหอประชุม เพราะไม่สะดวกต่อการทำกิจกรรมลูกเสือ มีค่าใช้จ่ายสูง และไม่มีโรงแรมใดสามารถรับผู้เข้าพักได้ ครั้งละหลายหมื่นคน แต่นิยมจัดกันกลางแจ้ง บริเวณที่ราบเชิงเขา ชายทะเล หรือ อุทยานแห่งชาติ โดยใช้เต้นท์ชั่วคราวเป็นที่พักแรม มีการเดินทางไกลเพื่อศึกษาชีวิตธรรมชาติ วัฒนธรรม และหุงหาอาหารกินกันเองอย่างประหยัด

งานชุมนุมลูกเสือ  ต่างกับงานแข่งขันกีฬา เนื่องจากมิใช่เป็นงานเพื่อแสดงความสามารถหรือความแข็งแรงเป็นพิเศษของผู้ที ฝึกฝนมาเฉพาะเรื่อง เหมือนการแข่งขันกีฬา เช่น โอลิมปิค หรือเอเชี่ยนเกมส์ โดยกิจกรรมที่มีการแพ้ชนะหรือได้รับรางวัลระดับนานาชาติ ให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย กิจกรรมที่จัดในงานจะเน้นในด้านประสิทธิภาพตามอุดมการณ์ และคำปฏิญาณของลูกเสือเปิดโอกาสให้ลูกเสือได้ฝึกฝนเพิ่มความรู้แบบการศึกษา นอกระบบ

งานชุมนุมลูกเสือ  ต่างกับงานแสดงสินค้า เพราะมิใช่กิจกรรมหารายได้เชิงะรกิจสิ่งของที่จะนำมาจำหน่ายในงานมีเพียงของ ที่ระลึกราคาไม่แพง หรือของใช้ส่วนตัวเท่านั้น เนื่องจากลูกเสือที่มาชุมนุมมิได้ร่ำรวยอะไร

งานชุมนุมลูกเสือ  ต่างจากการประชุมพรรคการเมืองหรืองานชุมนุมทางศาสนา คือ ผู้เข้าร่วมงานมาจากต่างพรรค ต่างศาสนา มาเป็นมิตรกันช่วยเหลือกันโดยไม่แบ่งกลุ่ม แบ่งพวก เพราะลูกเสือทุกคนเป็นพี่น้องกัน

งานชุมนุมลูกเสือ  ต่างกับการซ้อมรบทางทหาร เพราะลูกเสือเป็นมิตรกับทุกคน และมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งปวงรวมทั้งมนุษย์ จึงไม่มีการฝึก ทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามแต่อย่างใด

งานชุมนุมลูกเสือ  จะต้องมีการวางแผนเตรียมการ และดำเนินการอย่างดี แต่ก็มิได้หวังว่าจะไร้สิ้นซึ่งปัญหาทั้งปวง เพราะลูกเสือทุกคนได้รับการฝึกฝนฝนให้ "เตรียมพร้อม" ที่จะเผชิญปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ แล้วหาทางแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านั้นต่อไป

การจัดงานชุมนุมลูกเสือ
งานชุมนุมลูกเสือ  แบ่งออกเป็นหลาย ระดับคือระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก

งานชุมนุมลูกเสือระดับประเทศ โดยทั่วไป จัดทุก ๆ 4 ปี หรือตามความต้องการของแต่ละประเทศ
งานชุมนุมลูกเสือระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค จัดทุก ๆ ปี เพราะมีประเทศในสังกัดมากประเทศด้วยกัน

งานชุมนุมลูกเสือโลกโดยทั่วไป จัดทุก ๆ 4 ปี เริ่มแต่งานชุมนุมครั้งที่ 1ที่อังกฤษเมื่อ พ.ศ.2450 จนถึงครั้งที่ 20 ที่ประเทศไทยในปีพ.ศ. 2545 โดยมีเหตุการณ์ยกเว้นไม่จัดสองครั้ง คือระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2484-2488) และระหว่างความไม่เรียบร้อยทางการเมืองในอิหร่าน พ.ศ.2522
ระยะเวลาการจัดงานชุมนุมลูกเสือ อยู่ระหว่าง 8 ถึง 10 วัน นิยมจัดในช่วงหยุดภาคเรียนเพราะลูกเสือส่วนใหญ่ เป็นนักเรียนโดยนิยมจัดกันในช่วงเดือนกันยายน-สิงหาคม หรือธันวาคม-มกราคม ทั้งนี้พยายามหลีกเลี่ยงไม่จัดพร้อมกับงานสำคัญของประเทศเจ้าภาพ พยายามไม่จัดในช่วงเดือนรามาดอนของมุสลิมเพราะลูกเสือมุสลิมจะมาร่วมงานไม่ได้
   
ทำไมจึงต้องมีการจัดงานชุมนุมลูกเสือ
- เพื่อให้ลูกเสือได้รู้ว่ามีเพื่อนร่วมอุดมการณ์จำนวนมากอยู่ในประเทศทั่วโลก
- เพื่อให้ประชาชนในประเทศที่จัดงานและประเทศอื่น ได้รู้จักและ
ส่งเสริมกิจการลุกเสือในประเทศของตน
- เพื่อให้บุคคลสำคัญในรัฐบาลและธุรกิจ ตระหนักถึงความสำคัญใน
การพัฒนาจิตใจ
มนุษย์ด้วยวิธีการของลูกเสือ เช่นลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ ลูกเสือประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ หรือเสียชีพอย่าเสียสัตย์ เป็นต้น
- เพื่อสร้างเครือข่ายแห่งความเป็นมิตร การแก้ปัญหาโดยสันติวิธี การ
พัฒนาผุ้นำ ส่งเสริม น้ำใจไมตรี การช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์ การอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยวิธีการของลูกเสือ

 
ใครคือคนที่ต้องมาในงานชุมนุมลูกเสือ
เป้าหมายสำคัญของการชุมนุม คือลูกเสือที่ลงทะเบียนไว้กับคณะลูกเสือแห่งชาติซึ่งเป็นคนวัยหนุ่มสาวอายุ ระหว่าง 14 ถึง 17 ปี จำนวนประมาณ 20,000-30,000 คน และผู้บังคับบัญชาลูกเสือ กับอาสาสมัครนานาชาติ
(ไอเอสที) ผู้ใหญ่มาทำหน้าที่ให้บริการและอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ
จำนวนผู้ใหญ่อายุเกิน 18 ปี ที่จะเข้าร่วมงานชุมนุม ควรจะมีไม่เกินหนึ่งในห้าของเด็กอายุ 14-17 ปี
อาสาสมัครบริการนานาชาติ (ไอเอสที) (International Service Team IST) คือกลุ่มบุคคล จากนานาชาติที่อาสาสมัครมาทำงานบริการต่าง ๆ ในงาน
มีอายุเกิน 18 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นลูกเสือเก่าที่เคยผ่านงานชุมนุมลูกเสือมาแล้ว

งานชุมนุมลูกเสือโลกที่มีผู้เข้าชุมนุม 20,000-30,000 คน ต้องใช้อาสา-สมัครไอเอสที ราว 5,000 คน
เนื่องจากลูกเสือเป็นผู้มีรายได้น้อยดังนั้นจึงไม่สามารถจ้างคนมาทำ งานบริการต่าง ๆ ในงานชุมนุมลูกเสือได้ ต้องใช้อาสาสมัครทำโดยไม่ต้องจ่าย
ค่าจ้างแรงงาน
อาสาสมัครไอเอสที เหล่านี้ จะได้รับการจัดสรรให้ไปปฏิบัติงานหน้าที่ต่าง ๆ เช่น การลงทะเบียน ดูแลกิจกรรม ล่ามแปลภาษา ทำความสะอาด จัดร้านอาหาร ฯลฯ

เป็นที่น่าประหลาดใจว่ามีคนชาติต่าง ๆ จำนวนมากสมัครมาเป็นอาสา-สมัครไอเอสที โดยมิได้รับค่าจ้างอย่างใดทั้ง ๆที่จะต้องออกค่าเครื่องบินเอง และต้องเสียค่าลงทะเบียน เพื่อมาทำงานหนักหลายชั่วโมง
เมื่องานชุมนุมลูกเสือโลกที่ออสเตรเลีย มีศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง อาสาสมัครมาดูแลทำความสะอาดห้องน้ำ และเขาทำงานได้ดีด้วยความ
ตั้งใจยิ่ง
บีพี กล่าวไว้ว่า " งานชุมนุมลูกเสือจัดขึ้นเพื่อให้เหล่าลูกเสือได้รับมอบหน้าที่ใหม่ในการ เสริมสร้างสันติภาพ และมิตรภาพ"

เคยจัดงานชุมนุมลูกเสือโลกที่ไหนมาบ้าง
ครั้งที่ 1 พ.ศ.2463 (ค.ศ.1920) ที่อาคารโอลิมเปีย อาคารหลังคากระจกโค้งในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 10 วัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการเอาดินมาเททับพื้นคอนกรีตเพื่อให้มีความรู้สึกเป็นธรรมชาติมากขึ้น มีลูกเสือ 34 ประเทศ จำนวน 80,000 คน เข้าชุมนุม ฝึกอบรม โดยมีลอร์ด เบเดน
โพเอล เป็นประธาน
งานครั้งแรกนี้เป็นครั้งเดียวที่จัดในอาคาร ซึ่งต่อมาประเมินว่าไม่เหมาะสมเพราะกิจกรรมลูกเสือเป็นกิจกรรมกลางแจ้ง
ประเทศสยามได้ส่งลูกเสือไปร่วมชุมนุม 4 คน คือ นายสนั่น สุมิตร
นายศิริ หัพนานนท์ นายส่ง เทพาสิต นายศิริ แก้วโกเมน

ครั้งที่ 2 พ.ศ.2467 (ค.ศ.1924) ที่สวนสาธารณะเดียร์ปารค ใกล้กรุง
โคเปนฮาเกน ประเทศเดนมาร์ค มีลูกเสือ 34 ประเทศจำนวน 4,549 คน เข้าร่วมงานเป็นเวลา 7 วัน มีการจัดให้ลูกเสือที่มาร่วมงานได้ไปพักกับครอบครัวชาวเดนมาร์ค หลังงานอีก 7 วัน ซึ่งได้รับการชื่นชมอย่างมาก
ลูกเสือสยามที่เข้าร่วมชุมนุมครั้งที่ 2 ประกอบด้วย พระยาถะรุตราชา (หัวหน้าคณะ) นายสวัสดิ์ สุมิตร นายวงศ์ กุลพงศ์ มล.พันธ์ สนิทวงศ์
นายศิริ หัพนานนท์ นายนารถ โพธิประเวศ นายประเวศ จันทนยิ่งยง
นายปุ่น มีไฝแก้ว นายเล็ก สุมิตร นายทวี บุญเกต

ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2472 (ค.ศ.1929 ) ที่สวนสาธารณะแอรโร่ปารค์
เมืองเยอรเกนเฮด ประเทศอังกฤษ มีลูกเสือจาก 35 ประเทศ จำนวน 30,000 คน เข้าร่วมงาน
ระหว่างงานเกิดฝนตกใหญ่ทำให้ ถนนกลายเป็นโคลน แต่กิจกรรมต่าง ๆ ก็ดำเนินต่อไป
ระหว่างงานนี้ เบเดน โพเอล ได้ รับพระราชทานตำแหน่ง เป็น
ลอร์ด เบเดน โพเอล แห่งกิลเวล ซึ่งคล้ายกับตำแหน่งพระยา ในสมัยก่อนของไทย
คณะลูกเสือสยาม ได้เข้าร่วมงานนี้ด้วย คือ นายนาก เทพหัสดิน
(หัวหน้าคณะ)นายแถบ นีละนิธิ นายอภัย จันทวิมล นายสนั่น สุมิตร
นายรอง ศยามานนท์ นายพรศรี จามร นายเกื้อง อิงควณิช และ
นายศิระประภา บุญหลง

ครั้งที่ 4 พ.ศ.2476 (ค.ศ.1933) ที่ป่าเกอเดอเล่อ ใกล้กรุงบูดาเปส ประเทศฮังการี มีลูกเสือจาก 34 ประเทศ จำนวน 25,792 คน เข้าร่วมงาน
สิ่งพิเศษของงานนี้ คือ มีการจัด"ญาติ-Cousin" ลูกเสือฮังการีหนึ่งคนไปประจำคณะลูกเสือชาติอื่น เพี่อช่วยในการแปลภาษา และอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
ผุ้แทนลูกเสือสยามที่เข้าร่วมงานครั้งนี้ คือ นายอภัย จันทวิมล
(หัวหน้าคณะ) นายสนั่น สุมิตร นายรอง ศยามานนท์
นายประเสริฐ เรืองสกุล และนายสุนทร หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 5 พ.ศ.2480 (ค.ศ.1937) ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีลูกเสือ จาก 52 ประเทศ จำนวน 28,750 คน เข้าร่วมงาน
ครั้งนี้ ลอร์ด เบเดน โพเอล ได้เข้าร่วมงานชุมนุมครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อท่านอายุได้ 80ปี

ท่านบีพี กล่าวกับกลุ่มลูกเสือในงานนี้ว่า
" ฉัน….. อยู่ใกล้วาระสุดท้ายของชีวิตแต่พวกเธอเกือบทั้งหมดอยู่ในช่วงเริ่มต้น ฉันต้องการให้ชีวิตของเธอมีความสุขประสบความสำเร็จ และเธอจะได้รับสิ่งดังกล่าว โดย ปฏิบัติตามกฎของลูกเสือทุกวันตลอดชีวิตอย่างดีที่สุดไม่ว่าจะอยู่หรือจะไป ที่ไหน…..ลาก่อน ขอให้พระเจ้าประทานพรแก่พวกเธอทุกคน"
อีก 4 ปี ต่อมาในพ.ศ. 2484 ท่าน บีพี บอร์ด บาเดน โพเอล ประมุขแห่งลูกเสือโลก ก็เสียชีวิตลง
ผู้แทนประเทศไทย ทีค่เข้าร่วมงานครั้งนี้ คือ นายวิทย์ ศิวะศรียานนท์ (หัวหน้าคณะ) นายจก ณ ระนอง นายทองเปลว ชลภูมิ นายบุญเยี่ยม มีสุข นายโสมพงศ์ รัชตรัตน์ นายสมัคร บุราวาศ นายซั่วฮ้า ตั้งคณะสงค์
นายบุญรักษ์ เจริญชัย

ครั้งที่ 6 พ.ศ.2490 ที่ประเทศฝรั่งเศส

ครั้งที่ 7 พ.ศ.2494 ที่ประเทศออสเตรเลีย

ครั้งที่ 8 พ.ศ.2498 ที่เมืองไนแอการ่า ประเทศแคนาดา

ครั้งที่ 9 พ.ศ.2500 ที่เมืองเบอรมิ่งแฮม ประเทศอังกฤษ

ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2502 ที่ค่ายลูกเสือมาคิลิ่ง ประเทศฟิลิปปินส์

ครั้งที่ 11 พ.ศ.2506 ที่เมืองมาราธอน ประเทศกรีซ ต้องเปิดงานด้วยการลดธงครึ่งเสา เนื่องจากคณะลูกเสือฟิลิปปินส์ที่จะเดินทางมาร่วมงาน เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตก เสียชีวิตทั้งหมด

ครั้งที่ 12 พ.ศ.2510 ที่รัฐไอดาโฮ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ครั้งที่ 13 พ.ศ.2524 ที่อาซากิรีไฮท์ ประเทศญี่ปุ่น ได้มีพายุใต้ฝุ่นเข้ามาระหว่างงาน ทำให้บริเวณงานถูกน้ำท่วมสูง 30 เซนติเมตร มีเต้นท์พังจำนวนมาก ต้องมีการอพยพลูกเสือ 23,000 คน โดยใช้รถบรรทุก 200 คัน ไปยังที่ปลอดภัย แต่กิจกรรมหลายอย่างก็ยังดำเนินไปด้วยดี

ครั้งที่ 14 พ.ศ.2518 ที่เมืองลิลลี่แฮมเมอร์ ประเทศนอร์เวย์

ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2522 ที่อิหร่าน ต้องยกเลิก เนื่องจากปัญหาทางการเมืองในอิหร่าน จึงต้องไปจัดในปี พ.ศ.2526 ที่เมืองคาลการี รัฐอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา

ครั้งที่ 16 พ.ศ.2531 ที่รัฐนิวเซาท์เวล ประเทศออสเตรเลีย

ครั้งที่ 17 พ.ศ.2534(ค.ศ.1991) ที่อุทยานแห่งชาติ ซอรัคซาน
เมืองกังวอน เกาหลีใต้ มีลูกเสือจาก 135 ประเทศ จำนวน 19,083 คน เข้าร่วมงาน
นายคิม กู ยัง เลขาธิการลูกเสือเกาหลีเป็นผู้ดำเนินการ โดยต่อมาได้รับเลือกเป็นผู้อำนวยการลูกเสือภาคพื้นแปซิฟิค
งานนี้ทำให้กิจการลูกเสือของเกาหลีซึ่งกำลังอ่อนแอในขณะนั้น ได้
แข็งแกร่งขึ้นมาเป็นอันมากเพราะรัฐบาลเห็นความสำคัญ และนานาชาติให้ความเชื่อถือ คำขวัญของงานคือ " หลายแผ่นดินหนึ่งหนึ่งโลก" "Many Lands One World"

ครั้งที่ 18 พ.ศ. 2538 (ค.ศ.1995) ที่ดรอทเทน เฟลโวแลนด์
ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีลูกเสือจาก 166 ประเทศ มาร่วมงาน 28,960 คน
มีกิจกรรม 71 อย่างไม่ซ้ำกัน เน้นเรื่องให้รู้จักซึ่งกันและกัน
คำขวัญของงาน คือ "อนาคตอยู่เดี๋ยวนี้" Future us Now

ครั้งที่ 19 พ.ศ.2542 (ค.ศ.1999) ที่ Hacienda Picarquin เชิงเขาลอสแอนเดส San francisco de Mostazal ประเทศชิลี มีลูกเสือจาก 157 ประเทศ จำนวน 30,948 คน เข้าร่วมงาน โดยมีคำขวัญว่า "ช่วยกันสร้างสันติภาพ" "Building Peace Together"
ในงานนี้ชาวสวนผลไม้ใกล้เคียงส่งผลไม้มาแจกฟรี แก่ผู้ร่วมงานทุกวันมีการฉลองวันปีใหม่ ด้วยวิธีการของชาติต่าง ๆ

บีพีให้คติพจน์แก่ลูกเสือไว้ว่า
" จงเตรียมพร้อม Be Prepared "
หมายความว่า ลูกเสือทุกคนจะต้องเตรียมพร้อมอยู่ทุกขณะเพื่อกระทำหน้าที่ของตน และเผชิญหน้ากับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น


                                                  
              
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น