ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครอง
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
1
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ
ว่าด้วย
การปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๒๕
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
2
สารบัญ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่ ๑๓)
พ.ศ. ๒๕๒๕ ๕
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ พ.ศ.๒๕๒๕ ๖
ลูกเสือตรี ๘
ลูกเสือโท ๙
ลูกเสือเอก ๑๑
วิชาพิเศษลูกเสือสามัญ ๑๕
ข้อ ๑ นักจักสาน ๑๕
ข้อ ๒ ช่างไม้ ๑๕
ข้อ ๓ ช่างหนัง ๑๖
ข้อ ๔ ชาวนา ๑๖
ข้อ ๕ ชาวสวน ๑๖
ข้อ ๖ ชาวไร่ ๑๗
ข้อ ๗ นักเลี้ยงสัตว์เล็ก ๑๗
ข้อ ๘ นักจักรยาน ๒ ล้อ ๑๘
ข้อ ๙ นักว่ายน้ำ ๑๘
ข้อ ๑๐ ผู้ช่วยคนดับเพลิง ๑๙
ข้อ ๑๑ ผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ๑๙
ข้อ ๑๒ ผู้ให้การปฐมพยาบาล ๒๐
ข้อ ๑๓ นักสังเกตและจำ ๒๑
ข้อ ๑๔ การพราง ๒๑
ข้อ ๑๕ ชาวค่าย ๒๒
ข้อ ๑๖ ผู้ประกอบอาหารในค่าย ๒๓
ข้อ ๑๗ ล่าม ๒๓
ข้อ ๑๘ นักดนตรี ๒๔
ข้อ ๑๙ นักผจญภัยในป่า ๒๔
ข้อ ๒๐ นักสำรวจ ๒๕
ข้อ ๒๑ มัคคุเทศก์ ๒๕
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
3
ข้อ ๒๒ ช่างเขียน ๒๖
ข้อ ๒๓ นักสัญญาณ ๒๖
ข้อ ๒๔ นักบุกเบิก ๒๗
ข้อ ๒๕ นักธรรมชาติศึกษา ๒๗
ข้อ ๒๖ ช่างเบ็ดเตล็ด ๒๘
ข้อ ๒๗ ผู้บริบาลคนไข้ ๒๘
ข้อ ๒๘ นักจับปลา ๒๙
ข้อ ๒๙ ผู้ช่วยต้นเด่น ๒๙
ข้อ ๓๐ นักพายเรือ ๓๐
ข้อ ๓๑ นายท้ายเรือบด ๓๐
ข้อ ๓๒ นักกระเชียงเรือ ๓๑
ข้อ ๓๓ นักแล่นเรือใบ ๓๑
ข้อ ๓๔ นักดาราศาสตร์เบื้องต้น ๓๒
ข้อ ๓๕ นักอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น ๓๒
ข้อ ๓๖ ยามอากาศเบื้องต้น ๓๓
ข้อ ๓๗ นักเครื่องบินเล็กเบื้องต้น ๓๓
ข้อ ๓๘ นักสะสม ๓๔
ข้อ ๓๙ บรรณารักษ์ ๓๔
ข้อ ๔๐ นักกรีฑา ๓๕
ข้อ ๔๑ นักขี่ม้า ๓๖
ข้อ ๔๒ มวยไทยเบื้องต้น ๓๖
ข้อ ๔๓ มวยสากลเบื้องต้น ๓๖
ข้อ ๔๔ กระบี่กระบองเบื้องต้น ๓๗
ข้อ ๔๕ นักยิงปืนเบื้องต้น ๓๗
ข้อ ๔๖ การอนุรักษ์ธรรมชาติ ๓๘
ข้อ ๔๗ การหามิตร ๔๐
ข้อ ๔๘ มารยาทในสังคม ๔๒
ข้อ ๔๙ นิเวศวิทยา ๔๒
ข้อ ๕๐ การพัฒนาชุมชน ๔๓
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
4
ข้อ ๕๑ การใช้พลังทดแทน ๔๓
ข้อ ๕๒ ลูกเสือโทพระมงกุฎเกล้าฯ ๔๔
ข้อ ๕๓ ลูกเสือเอกพระมงกุฎเกล้าฯ ๔๕
ข้อ ๕๔ สายยงยศ ๔๖
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
5
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ
ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตร และวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๒๕
เพื่อให้การฝึกอบรมเหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่เด็กในวัยลูกเสือสามัญยิ่งขึ้น คณะกรรมการ
บริหารลูกเสือแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๗) แห่งพระราชบัญญัติลูกเสือ
พ.ศ. ๒๕๐๗
จึงออกข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตร
และวิชาพิเศษ
ลูกเสือ พ.ศ.๒๕๐๙ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตร และวิชา
พิเศษลูกเสือสามัญ พ.ศ. ๒๕๒๕”
ข้อ ๒ ให้ใช้ข้อบังคับนี้ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๒๕ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกหลักสูตร และวิชาพิเศษลูกเสือสามัญดังที่บัญญัติไว้ในข้อ ๑๖๙ ถึงข้อ ๒๑๐ แห่ง
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตร และวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๐๙
และให้ใช้
ข้อความที่แนบท้ายข้อบังคับนี้แทน
ข้อ ๔ ลูกเสือสามัญที่ได้รับเครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือสามัญตามข้อบังคับเดิมให้มีสิทธิ์ประดับ
เครื่องหมายนั้นต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๕
(ลงชื่อ) เกษม ศิริสัมพันธ์
(นายเกษม ศิริสัมพันธ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
6
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ พ.ศ. ๒๕๒๕
จุดหมายของการลูกเสือสามัญคือ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาในทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ
ศีลธรรมและสังคมของลูกเสืออายุ ๑๑ ปี ถึง ๑๖ ปี โดยถือว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของแผนการ
ฝึกอบรมที่ต่อเนื่องกันกับของเด็กในวัยต่างๆที่อยู่ในขบวนการลูกเสือ
แผนการฝึกอบรมลูกเสือสามัญมีระดับสูงขึ้นตามวัย และสมรรถภาพของเด็กแต่ละคนกับมี
หลักสูตรวิชาพิเศษต่างๆด้วย
การเข้าอยู่ในกองลูกเสือสามัญ
เด็กอาจเข้าอยู่ในกองลูกเสือสามัญ โดยเลื่อนมาจากกองลูกเสือสำรอง หรือโดยการสมัครเข้าเป็น
สมาชิกใหม่ของคณะลูกเสือแห่งชาติ
ระบบหมู่
กองลูกเสือสามัญประกอบด้วยหมู่ลูกเสือ ๒-๖ หมู่ หมู่หนึ่งมีลูกเสือ ๖-๘ คน รวมทั้งนายหมู่และ
รองนายหมู่ลูกเสือด้วย แต่ละหมู่มีนายหมู่ลูกเสือเป็นผู้นำ โดยมีรองนายหมู่ลูกเสือเป็นผู้ช่วย
ระบบหมู่เป็น เรื่องสำคัญและจำเป็นในการฝึกอบรมลูกเสือสามัญ ซึ่งประกอบด้วยการฝึกอบรมใน
เรื่องการเป็นผู้นำ การ วางแผน และการประกอบกิจกรรมต่างๆโดยถือหลักการพึ่งตนเองเป็นสำคัญ
หมู่ลูกเสือเป็นหน่วยในการจัดกิจกรรมทั้งปวง
ความสำเร็จของการฝึกอบรมลูกเสือ อยู่ที่การฝึกอบรมนายหมู่และการเปิดโอกาสให้นายหมู่ทุกคน
ได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในกิจการของกองโดยมีการปรึกษาหารือกันในที่ประชุมนายหมู่
ผู้กำกับลูกเสือสามัญมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของที่ประชุมนายหมู่และทำการฝึกอบรมนายหมู่ในกอง
ของตน เพื่อให้นายหมู่เหล่านั้นไปทำการฝึกอบรมลูกเสือในหมู่ของตนอีกช่วงหนึ่ง
ในค่ายพักแรม ลูกเสืออยู่และทำงานร่วมกันเป็นหมู่ในการประกอบกิจกรรมต่างๆ
ชั้นของลูกเสือสามัญ แผนการฝึกอบรมลูกเสือสามัญ แบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ ลูกเสือตรี,
ลูกเสือโท และลูกเสือเอก ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและ
วิชาพิเศษลูกเสือสามัญ(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
7
ลูกเสือตรี มีหลักสูตรโดยย่อดังนี้
๑.ความรู้เกี่ยวกับขบวนการลูกเสือ
๒.คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสามัญ
๓.กิจกรรมกลางแจ้ง
๔.ระเบียบแถว
เมื่อสอบวิชาตามหลักสูตรลูกเสือตรีได้แล้ว จึงเข้าพิธีประจำกอง และให้ได้รับการฝึกอบรมชั้นสูง
ต่อไปตามลำดับ
ลูกเสือโท มีหลักสูตรโดยย่อดังนี้
๑.การรู้จักดูแลตนเอง
๒.การช่วยเหลือผู้อื่น
๓.การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ
๔.ทักษะในทางวิชาลูกเสือ
๕.งานอดิเรก และเรื่องที่สนใจ
๖.คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
๗.ระเบียบแถว
ลูกเสือเอก มีหลักสูตรโดยย่อดังนี้
๑.การพึ่งตนเอง
๒.การบริการ
๓.การผจญภัย
๔.วิชาช่างของลูกเสือ
๕.ระเบียบแถว
การสอบวิชาลูกเสือทุกชั้น ให้ผู้กำกับกองลูกเสือเป็นผู้ดำเนินการสอบ
การสอบวิชาลูกเสือตรี วิชาลูกเสือโท และวิชาลูกเสือเอก ลูกเสือจะต้องสอบวิชาตามที่กำหนดไว้ใน
หลักสูตรสำหรับแต่ละชั้นให้ได้ครบทุกวิชาเสียก่อนจึงจะเลื่อนชั้นได้
ลูกเสือสามัญอาจทำงาน และสมัครสอบเพื่อขอรับเครื่องหมายลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ในระยะเวลา
๓ เดือน ก่อนที่จะเลื่อนจากกองลูกเสือสามัญไปอยู่กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
8
หมวด ๑
ลูกเสือตรี
ลักษณะเครื่องหมาย
ทำด้วยผ้าสีกากี รูปโล่ ยาว ๔ ซม. กว้าง ๒.๕ ซม. มีรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติ
สีแดง แต่ไม่มีแถบคำขวัญ และมีคำว่า “ลูกเสือ” สีเหลือง ติดที่กึ่งกลางกระเป๋าเสื้อ
ข้างซ้าย
หลักสูตร
๑. ความรู้เกี่ยวกับขบวนการลูกเสือ
แสดงว่ามีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขบวนการลูกเสือและการพัฒนาของ
กิจการลูกเสือโลก
๑.๑ ประวัติสังเขปของลอร์ดเบเดน-โพเอลล์
๑.๒ พระราชประวัติสังเขปของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
๑.๓ วิวัฒนาการของขบวนการลูกเสือไทยและลูกเสือโลก
๑.๔ การทำความเคารพ การแสดงรหัส การจับมือซ้าย และคติพจน์ของลูกเสือ
๒. คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสามัญ
เข้าใจและยอมรับคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสามัญ
๓. กิจกรรมกลางแจ้ง
มีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่หรือกองลูกเสือนอกสถานที่
๔. ระเบียบแถว
๔.๑ ท่ามือเปล่า
๔.๒ ท่าถือไม้พลอง
๔.๓ การใช้สัญญาณมือและนกหวีด
๔.๔ การตั้งแถวและการเรียกแถว
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
9
หมวด ๒
ลูกเสือโท
ลักษณะเครื่องหมาย
ทำด้วยผ้าสีกากี รูปไต ยาว ๔.๕ ซม. กว้าง ๒.๕ ซม. มีคำว่า “ลูกเสือ” สีเหลือง
เหนือกรอบสีแดง ในกรอบสีแดงมีคำว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” สีเหลือง
ติดที่แขนเสื้อข้างซ้าย กึ่งกลางไหล่กับศอก
หลักสูตร
๑. การรู้จักดูแลตนเอง
๑.๑ บรรจุสิ่งของต่างๆ ลงในเครื่องหลัง สำหรับการไปอยู่ค่ายพักแรมปลายสัปดาห์
๑.๒ เตรียมเครื่องปัจจุบันพยาบาลเป็นส่วนตัวสำหรับการเดินทางไกล
๑.๓ ก่อไฟ ปรุงเครื่องดื่มร้อน ปรุงอาหารง่ายๆนอกสถานที่
๑.๔ กางเต็นท์สำหรับพักแรมในการเดินทางไกล
๑.๕ ออกไปอยู่ค่ายพักแรมอย่างน้อยหนึ่งคืน
๒. การช่วยเหลือผู้อื่น
๒.๑ รู้จักวิธีปฏิบัติต่อบาดแผล แมลงสัตว์กัดต่อย แดดเผา ไฟลวก น้ำร้อนลวก
และการเป็นลม
๒.๒ แสดงความสามารถในการชี้ทางให้แก่คนต่างถิ่น และมีความรู้พอสมควร
เกี่ยวกับบริการขนส่งสาธารณะของท้องถิ่น สถานที่น่าสนใจหรือสำคัญของ
ท้องถิ่น รวมทั้งตำบลที่อยู่ของแพทย์ สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง สถานที่ตั้ง
โทรศัพท์สาธารณะและสถานที่ราชการต่างๆ
๓. การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ
๓.๑ รู้ทิศ ๘ ทิศ รู้วิธีวางแผนที่ให้ถูกทิศทางและรู้จักการใช้เข็มทิศ
๓.๒ แสดงว่าเข้าใจในเรื่องมาตราส่วน และเครื่องหมายต่างๆที่ใช้กันเป็นธรรมเนียม
ในการทำแผนที่ โดยอธิบายประกอบเส้นทางระยะสั้นๆที่กำหนดให้ตามแผนที่
๓.๓ เดินทางไกลไปกลับระยะทาง ๑๐ กม. กับเพื่อนคนหนึ่งซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน
และเมื่อกลับมาแล้ว ให้รายงานต่อผูก้ ำกับลูกเสือดว้ ยวาจาถึงวัตถุประสงค์ที่ได 
กระทำสำเร็จในระหว่างการเดินทาง (เช่น สะเก็ตภาพหรือได้รับความรู้พิเศษ
เกี่ยวกับสถานที่บางแห่งหรือบุคคล)
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
10
๓.๔ แสดงว่ารู้จักและเข้าใจกฎจราจรตลอดจนเครื่องหมายที่ใช้ในการจราจร
๓.๕ ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับต่างประเทศ ๑ ประเทศ หาทางที่น่าสนใจในการที่จะ
เดินทางไปยังประเทศนั้น และเล่าให้ลูกเสือในหมู่ของตนทราบถึงสิ่งสำคัญต่างๆ
ที่หวังว่าจะได้พบเห็นที่นั่น
๔. ทักษะในทางวิชาลูกเสือ
๔.๑ อธิบายถึงวิธีใช้และเก็บรักษามีดและขวาน ใช้มีดเหลาไม้ให้เป็นสมอบกสำหรับ
ขึงเต็นท์หรือให้เป็นเครื่องใช้อย่างอื่น และใช้ขวานสำหรับผ่าไม้เพื่อเตรียมก่อไฟ
๔.๒ แสดงวิธีผูกเงื่อน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการอยู่ค่ายพักแรมหรือบนเรือ คือ
ก. ผูกเงื่อนด้วยเชือกเส้นเดียวหรือสองเส้นที่มีขนาดเดียวกัน (Knots) เช่น
เงื่อนประมง เงื่อนผูกร่น เงื่อนผูกคนลาก
ข. ผูกเงื่อนด้วยเชือกที่มีขนาดต่างกัน (Bends) เช่น
เงื่อนขัดสมาธิ เงื่อนขัดสมาธิ ๒ชั้น
ค. ผูกเงื่อนด้วยเชือกกับวัสดุอย่างหนึ่งอย่างใด (Hitches) เช่น
เงื่อนผูกซุง เงื่อนตะกรุดเบ็ด เงื่อนผูกรั้ง
ง. ผูกแน่น (Lashings) เช่น ผูกประกบ ผูกทแยง ผูกกากบาท
สำหรับเงื่อนตามข้อ ก-ข-ค อย่างละเงื่อนและตามข้อ ง. ทั้ง ๓ เงื่อน
๔.๓ แสดงว่ามีความรู้ทั่วไปและสนใจลักษณะและสัญญาณเกี่ยวกับกาลอากาศ
โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับท้องถิ่นของตน
๕. งานอดิเรกและเรื่องที่สนใจ
แสดงให้หมู่หรือกองลูกเสือของตนเห็นว่า ตนมีทักษะหรือสมรรถภาพพอสมควรในงาน
อดิเรก หรือเรื่องที่สนใจส่วนตัว เช่น การขี่รถจักรยาน, การว่ายน้ำ, ธรรมชาติศึกษา, เรื่องราวเกี่ยวกับกาล
อากาศ, การรู้จักชนิดของเครื่องบิน, ดาว, การขี่ม้า, การทำหุ่นจำลอง, การสานตะกร้า, การสะสมแสตมป์,
วรรณคดี, การวาดภาพ, การตกแต่งบ้าน, การสร้างเครื่องรับวิทยุ, การทำเครื่องไม้ เช่น ประตู หน้าต่าง และ
บันได
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น เรื่องที่สนใจและงานอย่างอื่นยังมีอีกมาก
๖. คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
สนทนากับนายหมู่ของตนเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของตนในเรื่องวิชาลูกเสือ ตลอดจน
การปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ กับวางแผนเพื่อความเจริญก้าวหน้าของตนในอนาคตด้วย
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
11
๗. ระเบียบแถว
ทบทวนท่าฝึกต่างๆที่กำหนดไว้ในหลักสูตรวิชาลูกเสือตรีและปฏิบัติตามหนังสือคู่มือการ
ฝึกระเบียบแถวลูกเสือของสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
หมวด ๓
ลูกเสือเอก
ลักษณะเครื่องหมาย
ทำด้วยผ้าสีกากี รูปโล่ ยาว ๕ ซม. มีรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติสีแดง
มีแถบคำขวัญ “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” และมีคำว่า “ลูกเสือ” สีเหลือง
ติดที่แขนเสื้อข้างซ้าย กึ่งกลางไหล่กับศอก
หลักสูตร
๑. การพึ่งตนเอง
๑.๑ นับแต่เข้าเป็นลูกเสือสามัญ ได้อยู่ค่ายพักแรมแล้วเป็นเวลา
ไม่น้อยกว่า ๑๒ คืน
๑.๒ ว่ายน้ำได้ระยะทาง ๔๕ เมตร (ผู้อำนวยการกองลูกเสือ กองลูกเสือ
ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัดหรือผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอ แล้วแต่กรณี
อาจอนุมัติให้สอบวิชาอย่างอื่นแทนได้)
๑.๓ เข้าใจถึงการรักษาตัว ซึ่งจำเป็นต้องกระทำรวมทั้ง ความรู้เกี่ยวกับ
การที่ต้องตรากตรำจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ สาเหตุ
ของการป่วยเจ็บ การป้องกันอาการ และการรักษาอย่างทันทีทันใด
ก่อนที่จะเริ่มประกอบกิจกรรมซึ่งมีการผจญภัย เช่น การแล่น
เรือใบ การเดินข้ามเนินเขา และการสำรวจถ้ำ เป็นต้น
๑.๔ รู้จักใช้ ดูแลรักษา และระมัดระวังอันตราย อันเนื่องจากการนำ
สิ่งต่อไปนี้ไปใช้
๑.๔.๑ ตะเกียงและเตาสมัยใหม่
๑.๔.๒ ตะเกียงและเตาที่ใช้สูบ เช่น ตะเกียงเจ้าพายุ และเตาฟู่
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
12
๑.๔.๓ การใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องมือที่ต้องใช้ไฟฟ้าในชีวิต
ประจำวัน เช่น พัดลม เตารีด เตาไฟฟ้า ตู้เย็น วิทยุ
โทรทัศน์ เป็นต้น
๑.๕ ทำเรื่องต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ
๑.๕.๑ รู้วิธีพิจารณา ในเมื่อจะเลือกสถานที่ตั้งค่ายพักแรม
และทำรายการอาหาร (รวมทั้งปริมาณ) สำหรับการ
อยู่ค่ายพักแรมสองคนในวันหยุดปลายสัปดาห์
๑.๕.๒ ปรุงอาหาร ๒ อย่าง สำหรับคน ๒ คน
๒. การบริการ
๒.๑ สามารถให้คำชี้แจงอย่างชัดเจนและสั้น ในเมื่อติดต่อขอความช่วยเหลือจาก
รถพยาบาล ตำรวจ หรือสถานีดับเพลิง กับรู้จักว่าควรปฏิบัติอย่างไร ในกรณีที่
เกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุฉุกเฉินอย่างอื่น รวมทั้งการช่วยเหลือเนื่องจากไฟไหม้
การจมน้ำ การถูกไฟฟ้าช๊อต และแก๊สรั่ว
๒.๒ รู้จักการปฐมพยาบาล สำหรับกรณีเลือดออกภายนอกและอาการช็อก รู้วิธีที่
ถูกต้องในการช่วยให้คนหายใจและรู้ถึงอันตรายต่างๆอันเกี่ยวข้องกับการ
เคลื่อนย้ายคนเจ็บ ตลอดจนรู้จักการนำผู้ป่วยเจ็บส่งโรงพยาบาล
๒.๓ ให้บริการบางอย่าง ภายในหรือนอกวงการลูกเสือด้วยความสมัครใจ โดยทำงาน
ที่มีคุณค่าอย่างน้อยเป็นเวลา ๓ ชั่วโมง หรือโดยการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ
รวมเป็นเวลา ๓ ชั่วโมง
๓. การผจญภัย
๓.๑ เดินทางไกลด้วยเท้าหรือโดยทางเรือด้วยความสามารถของตนเอง เป็นระยะทาง ๒๐ กม.
หรือ โดยรถจักรยาน เป็นระยะทาง ๘๐ กม. และไปอยู่ค่ายพักแรมค้างคืนกับลูกเสือสามัญ
คนหนึ่ง ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน แล้วบันทึกรายงานการเดินทางโดยย่อ และ
กล่าวถึงสิ่งที่น่าสนใจ
๓.๒ ใช้เข็มทิศในที่กลางแจง้ เพื่อทำแบบฝึกหัดงา่ ยๆเกี่ยวกับการหาทิศ
๓.๓ อธิบายระบบเส้นชั้นความสูง (Contour System) กับสามารถแจ้งและหาตำแหน่งที่ตั้ง
โดยอาศัยระบบพิกัดกริด (Grid Reference) ในแผนที่ของกรมแผนที่ทหารได้
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
13
๓.๔ เลือกทำงานต่อไปนี้ให้สำเร็จ ๒ อย่าง
ก. เข้าร่วมกับหมู่หรือกองลูกเสือของตนในกิจกรรมกลางแจ้ง โดยร่วมกับ
ลูกเสือหมู่หนึ่งจากกองอื่น เช่น การอยู่ค่ายพักแรม การเดินทางไกล
การเล่นในที่กว้าง หรือการเดินทางสำรวจ
ข. เดินทางตามลำพังหรือกับเพื่อนคนหนึ่งที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน ไปยัง
สถานที่น่าสนใจ หรือเดินทางไกลระยะทางไม่น้อยกว่า ๔๐ กม. และ
รายงานด้วยวาจาโดยย่อเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น
ค. พายเรือนั่งคนเดียว เป็นระยะทาง ๑,๖๐๐ เมตรหรือทำการแล่นเรือใบ
ขนาดเล็ก รอบระยะทางรูปสามเหลี่ยม หรือมีความเข้าใจในระบบการ
ผูกเชือกพันหลักให้แน่น(the belay system)และไต่ลงตามเส้นเชือกจาก
ที่สูง (abseil) ระยะ ๙ เมตร โดยถูกต้องตามวิธี
ง. ในขณะที่ไปอยู่ค่ายพักแรมในต่างประเทศให้ใช้เวลา ๑ วันกับหมู่ของตน
หรือกับลูกเสืออีกคนหนึ่งจากกองลูกเสือของตน หรือกองลูกเสือในท้องถิ่น
เพื่อสำรวจตำบล หรือหมู่บ้านในท้องถิ่น เมื่อกลับมาแล้วให้รายงาน
ด้วยวาจาว่าได้ทำอะไร เห็นอะไร พบกับใครและมีอะไรบ้างที่ได้เรียนรู 
เกี่ยวกับชีวิตในท้องถิ่น
๔. วิชาการของลูกเสือ
๔.๑ ทำโครงการบุกเบิก ๑ โครงการให้สำเร็จ โดยใช้การผูกแน่น(Lashings)ที่แตกต่างกัน
อย่างน้อยที่สุด ๒ วิธี และ/หรือใช้รอกประกอบเชือก(blocks and tackle)เรื่องนี้โดยปกติ
ควรจะทำเป็นโครงการของหมู่
๔.๒ แสดงวิธีผูกเงื่อนต่างๆ ๓ อย่าง ที่มีประโยชน์สำหรับช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตราย เช่น
เงื่อนบ่วงสายธนู เงื่อนบ่วงสายธนูสองชั้น เงื่อนบ่วงสายธนูสามชั้น เงื่อนเก้าอี้ และวิธี
ผูกเชือกพันหลักให้แน่น (belay procedure) ที่ถูกต้อง
๔.๓ ปรุงอาหารแบบชาวป่า และกินอาหารนั้น กับทำที่พักแรมชั่วคราว และนอนค้างคืนใน
ที่พักแรมนั้น
๔.๔ รู้จักกฎแห่งความปลอดภัยของการใช้ขวาน และรูจั้กวิธีการเก็บรักษาเลื่อยและขวาน
กับใช้เลื่อยหรือขวานสำหรับโค่นต้นไม่ ริดกิ่งไม้ หรือตัดไม้เนื้ออ่อน
๔.๕ เลือกทำงานต่อไปนี้ให้สำเร็จ ๒ อย่าง
ก. จัดทำอนุทินธรรมชาติ เกี่ยวกับนกหรือสัตว์เลี้ยง หรือทำการสะสมตัวอย่างใบไม้
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
14
และดอกไม้ เป็นเวลาอย่างน้อย ๑ เดือน
ข. จัดทำสถิติกาลอากาศประจำวันอย่างง่ายๆ เป็นเวลา ๑ เดือนหรือจัดทำสมุด
หมายเหตุรายวันของหมู่ลูกเสือเป็นเวลา ๒ เดือน
ค. ไปเยือนอาคารหรือสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของท้องถิ่น และเขียนรายงานสังเขป
บรรยายถึงประวัติและวัตถุประสงค์ของอาคาร หรือสถานที่นั้น หรือสำรวจ
บริเวณเล็กๆแห่งหนึ่งในละแวกบ้านของตน เช่น บริเวณสองฝั่งแม่น้ำหรือ
ลำคลองระยะทาง ๘๐๐ เมตร และทำแผนผังขนาดใหญ่ แสดงสิ่งสำคัญต่างๆ
ในบริเวณนั้น
ง. ได้รับเครื่องหมาย วิชาพิเศษลูกเสือสามัญอย่างน้อย ๒ เครื่องหมาย
จ. แสดงว่า ตระหนักในความจำเป็นของการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยมีส่วนร่วมใน
โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติ ๑ โครงการอย่างจริงจัง
๔.๖ อภิปรายกับผู้กำกับลูกเสือของตนในเรื่องต่อไปนี้
ก. ความเข้าใจของตนเกี่ยวกับคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
ข. การฝึกอบรมวิชาลูกเสือของตนในอนาคตและการสมัครเข้าเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ค. ความหมายในทางปฏิบัติของความเป็นพี่น้องของลูกเสือทั่วโลก
๕. ระเบียบแถว
๕.๑ ทบทวนท่าฝึกต่างๆที่กำหนดไว้ในหลักสูตรวิชาลูกเสือตรี โท
๕.๒ การเดินสวนสนาม
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
15
หมวด ๔
วิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
ลูกเสือสามัญที่กำลังเรียนหลักสูตรลูกเสือตรี, ลูกเสือโท และลูกเสือเอก อาจสอบวิชาพิเศษลูกเสือ
สามัญได้ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ วิชาพิเศษเหล่านี้มุ่งหมายให้ลูกเสือสามัญได้แสดงออกซึ่งทักษะ
และ ความสนใจของตนเอง กับเพื่อให้ได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับลูกเสืออื่นๆด้วย
วิชาพิเศษ ลูกเสือสามัญ มีดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ นักจักสาน
หลักสูตร
(๑) สามารถใช้และรักษาเครื่องมือ
(๒) มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัสดุที่นำมาใช้ในการจักสาน เช่น
วัสดุนั้นได้มาจากไหน และจัดเตรียมอย่างไร
(๓) สามารถจักตอก และเหลาหวายหรือไม้ไผ่สำหรับใช้ทำสิ่งของต่างๆ
(๔) สามารถผลิตเครื่องใช้ที่ใช้เป็นประโยชน์ ๑ อย่างจากวัสดุ เช่น
หวาย ไม้ไผ่ กก ฟางข้าว เป็นต้น โดยทำการผลิตต่อหน้ากรรมการสอบ
ข้อ ๒ ช่างไม้
หลักสูตร
(๑) สามารถใช้และรักษาเครื่องมือ
(๒) สามารถบอกชื่อไม้บางชนิดที่ใช้ในท้องถิ่น กับรู้จักลักษณะและ
ประโยชน์ของไม้แต่ละชนิด
(๓) ไขตะปูควงยาวไม่เกิน ๑ ๑
๒ นิ้ว โดย ไม่ทำอันตรายต่อเนื้อไม้
หรือตะปูควง
(๔) ใช้ตะปูตอกฝาหีบบรรจุของได้อย่างเรียบร้อย โดยใช้ไม้หนา ๑
๒ นิ้ว
และตะปูยาว ๑ ๑
๒ นิ้ว
(๕) ใช้เลื่อยธรรมดาแบ่งไม้ออกเป็นสองส่วนตามเส้นตรงที่กำหนดให้
โดยใช้ไม้หนา ๑ นิ้ว ยาว ๒ ฟุต การเลื่อยไม้ต้องไม่ห่างจากเส้นตรง
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
16
ที่กำหนดให้ เกิน ๑/๑๖ นิ้ว
(๖) สามารถผลิตเครื่องใช้ด้วยไม้ ๑ อย่าง เช่น ม้านั่งคนเดียว เก้าอี้ หีบ
ชั้นวางของ กรอบรูป เป็นต้น
ข้อ ๓ ช่างหนัง
หลักสูตร
(๑) สามารถใช้และรักษาเครื่องมือ
(๒) รู้จักหนังชนิดต่างๆ กับสามารถเลือกใช้หนังที่ต้องการ
(๓) สามารถทำพื้นและส้นรองเท้าด้วยวิธีเย็บหรือตอกตะปูกับซ่อม
รองเท้าที่ชำรุดได้ หรือสามารถผลิตเครื่องใช้ด้วยหนัง ๑ อย่าง
ตามแบบ เช่น กระเป๋าถือ ซองธนบัตร กระเป๋าสตางค์ เข็มขัด เป็นต้น
ข้อ ๔ ชาวนา
หลักสูตร
(๑) สามารถใช้และรักษาเครื่องมือ
(๒) รู้จักชนิดและคุณสมบัติของดินกับเข้าใจเลือกที่ดินทำนา
(๓) รู้จักเลือกพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับพื้นที่และท้องถิ่น
(๔) รู้จักธาตุสำคัญที่เป็นอาหารพืช ปุ๋ย ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก
(๕) รู้จักการเตรียมที่ทำนาดำ หรือนาหว่าน
(๖) รู้จักการเพาะการหว่าน การตกกล้า การถอนกล้า และการปักดำ
(๗) รู้จักการบำรุงรักษาต้นข้าว เช่น การป้องกัน การกำจัดวัชพืช
กำจัดศัตรูพืช การทดน้ำ การใช้ปุ๋ย เป็นต้น
(๘) รู้จักการเก็บเกี่ยว การขนย้าย การตาก การนวด และการเก็บรักษาข้าว
(๙) สามารถไถ คราด ตกกล้า ปักดำ และเก็บเกี่ยวในเนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๑ ไร่
ตลอดจนการนวดข้าวด้วย
ข้อ ๕ ชาวสวน
หลักสูตร
(๑) สามารถใช้และรักษาเครื่องมือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
17
(๒) รู้จักชนิดและคุณสมบัติของดิน กับเข้าใจเลือกที่ดินทำสวน
(๓) รู้จักเลือกพันธุ์และการขยายพันธุ์
(๔) รู้จักการเตรียมดิน วิธีปลูก การบำรุงรักษาและการกำจัดศัตรูพืช
(๕) รู้จักการเก็บเกี่ยวและการขยายผลิตผล
(๖) รู้จักชื่อพืชผักสวนครัวและไม้ยืนต้นอย่างละ ๑๒ ชนิด
(๗) รู้จักวิธีทำปุ๋ยหมัก และเข้าใจหลักของการให้ปุ๋ยทั้งปุ๋ยธรรมชาติและ
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
(๘) สามารถทำสวนผัก สวนดอกไม้ สวนผลไม้ สวนยางพารา หรือ
สวนอย่างอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด ตามความเหมาะสมของท้องถิ่น
เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ เดือน ให้เจริญงอกงามพอสมควร ในเนื้อที่
อย่างน้อย ๑๒ ตารางเมตร
ข้อ ๖ ชาวไร่
หลักสูตร
(๑) สามารถใช้และรักษาเครื่องมือ
(๒) รู้จักชนิดและคุณสมบัติของดิน กับเข้าใจเลือกที่ดินทำไร่
(๓) รู้จักเลือกพันธุ์และการขยายพันธุ์
(๔) รู้จักการเตรียมดิน วิธีปลูก การบำรุงรักษา การป้องกัน และ
การกำจัดศัตรูพืช
(๕) รู้จักการเก็บเกี่ยวและการขยายผลิตผล
(๖) รู้จักวิธีทำปุ๋ยหมักและเข้าใจหลักของการให้ปุ๋ยทั้งปุ๋ยธรรมชาติและ
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
(๗) สามารถปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ปอ ฝ้าย นุ่น มันสำปะหลัง
มันเทศ ยาสูบ อ้อย พริกไทย หรือพืชไร่อย่างอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด
ตามความเหมาะสมของท้องถิ่น เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ เดือน
ให้ผลเจริญงอกงามพอสมควรในเนื้อที่อย่างน้อย ๑๒ ตารางเมตร
ข้อ ๗ นักเลี้ยงสัตว์เล็ก
หลักสูตร
(๑) สามารถเลือกพันธุ์และผสมพันธุ์
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
18
(๒) รู้จักสร้างเรือนโรงสัตว์เลี้ยง และจัดหาอุปกรณ์
(๓) รู้จักอาหาร การผสม และการให้อาหาร
(๔) รู้จักการเลี้ยงดู การตอน
(๕) รู้จักหลักสุขาภิบาลเบื้องต้น
(๖) สามารถเลี้ยงสัตว์เล็ก เช่น ไก่ เป็ด ห่าน นกพิราบ สุกร อย่างหนึ่ง
อย่างใดจนเกิดผล เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ เดือน สำหรับไก่ เป็ด
ห่าน และนกพิราบ มีจำนวนอย่างน้อย ๑๒ ตัว ส่วนสุกรมีจำนวน
อย่างน้อย ๒ ตัว
ข้อ ๘ นักจักรยาน ๒ ล้อ
หลักสูตร
(๑) มีรถจักรยาน ๒ ล้อ เป็นของตนเอง หรือเคยใช้รถจักรยาน ๒ ล้อ ได้ดีพอสมควร
เป็นเวลาอย่างน้อย ๖ เดือน โดยมีอุปกรณ์ครบถ้วนและอยู่ในสภาพที่ใช้การได้
(๒) สามารถปรับปรุง แก้ไข และซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุดตามที่กรรมการสอบกำหนดให้
เช่น เปลี่ยนยางนอก และยางใน ปะยาง เปลี่ยนห้ามล้อ ปรับระดับอานหัว
รถจักรยาน และมือถือ เพื่อให้เด็กเล็กขี่ได้
(๓) สาธิตให้เห็นว่า มีความรู้และปฏิบัติตามกฎจราจรสัญญาณจราจร กำหนด
เวลาเปิดไฟ ป้าย และเครื่องหมายจราจรบนถนน ระบบเลขที่ถนนและทิศทาง
กับสามารถอ่านแผนที่ถนนได้ถูกต้อง
(๔) เข้าร่วมในกิจกรรมลูกเสือ ซึ่งมีการใช้รถจักรยาน ๒ ล้อ
ข้อ ๙ นักว่ายน้ำ
หลักสูตร
(๑) ว่ายน้ำระยะทาง ๒๐๐ เมตร โดยใช้ท่าใดๆก็ได้
(๒) ว่ายน้ำ ๒ แบบ จากแบบต่างๆต่อไปนี้ ได้ระยะทางไม่น้อยกว่า ๕๐ เมตร
ก.แบบฟรีสไตล์ (front crawl)
ข.แบบกรรเชียง (back crawl)
ค.แบบกบ (breast crawl)
ง.แบบผีเสื้อ (butterfly crawl)
(๓) ยืนพุ่งตัวลงน้ำ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
19
(๔) ว่ายน้ำระยะทาง ๒๕ เมตร โดยมีเครื่องแต่งกาย ๒ ชั้น พยุงตัวในน้ำ
เป็นเวลา ๑ นาที แล้วถอดเสื้อผ้าชั้นนอกออก
(๕) เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีช่วยคนตกน้ำแบบต่างๆดังต่อไปนี้ คือ
ยื่นให้จับ โยนวัตถุให้เกาะ ว่ายน้ำหรือพายเรือเข้าไปช่วย
(๖) ดำน้ำระยะลึก ๒ เมตร จากผิวนํ้า เพื่อใช้มือทั้งสองหยิบวัตถุจากก้นสระ
แล้วโผล่ขึ้นเหนือน้ำว่ายกลับไปยังฝั่ง โดยถือของนั้นด้วยมือทั้งสองข้าง
ข้อ ๑๐ ผู้ช่วยคนดับเพลิง
หลักสูตร
(๑) รู้จักและเข้าใจการปฏิบัติงานของหน่วยดับเพลิงประจำท้องถิ่น
(๒) รู้วิธีป้องกันอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้นจากสิ่งต่อไปนี้ ตะเกียงและ
เตาน้ำมัน ธูปเทียน ไม้ขีดไฟ ก้นบุหรี่ วัตถุไวไฟ เตาไฟ สายไฟฟ้า
ชำรุด การต่อสายไฟฟ้า ฟิวส์ และสวิตช์ไฟฟ้า
(๓) รู้ว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร เมื่อเกิดไฟไหม้ในอาคารหรือนอกอาคาร
และทำไมจึงทำเช่นนั้น รู้วิธีแจ้งหน่วยดับเพลิง และเมื่อแจ้งไปแล้ว
จะต้องปฏิบัติอย่างไร
(๔) รู้วิธีใช้เครื่องมือต่างๆในการดับเพลิง ตลอดจนรู้จักใช้น้ำยาเคมี
ในการดับเพลิงแต่ละชนิด และรู้จักช่วยเหลือคนที่ถูกไฟไหม้เสื้อผ้า
(๕) สามารถผูกเงื่อนเก้าอี้ บ่วงสายธนูสองชั้น สาธิตวิธีกันคนไม่ให้มุงดูไฟ
(๖) อธิบายสาเหตุต่างๆที่ทำให้เกิดไฟไหม้ขึ้นเอง รู้ผลที่จะเกิดจากควัน
และความร้อน รู้จักปฏิบัติเมื่ออยู่ในกลุ่มควัน
ข้อ ๑๑ ผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
หลักสูตร
(๑) สาธิตในน้ำถึงวิธีช่วยคนตกน้ำ ๑ วิธี และวิธีแก้ไขตนเองให้
พ้นอันตรายจากการเข้าช่วย ๑ วิธี โดยผู้ประสบอันตรายมี
ขนาดเดียวกับผู้เข้าช่วย กับสามารถพาผู้ประสบอันตรายไปได้
เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า ๙ เมตร
(๒) สาธิตวิธีผายปอดแบบปากต่อปาก โดยใช้หุ่นเป็นเครื่องประกอบ
(ห้ามสาธิตกับคน) และสาธิตวิธีผายปอดแบบฮอลเกอร์นีลเสน
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
20
(๓) ว่ายน้ำแบบนอนหงาย ระยะทางไม่น้อยกว่า ๔๕ เมตร โดยมีเสื้อและ
กางเกงขาสั้นสวมอยู่ พร้อมกับเชือกช่วยชีวิตขนาดเบาติดตัวไปด้วย
(๔) โยนเชือกช่วยชีวิตขนาดยาว ๑๕ เมตร ให้ตกระหว่างหลัก ๒ หลัก
การโยนทุกสามครั้งให้เชือกตกระหว่างที่กำหนดให้สองครั้ง
หลักดังกล่าวให้ปักห่างกัน ๑.๒๐ เมตร และอยู่ห่างจากผู้โยน ๑๐ เมตร
(๕) แสดงวิธีช่วยชีวิตในกรณีต่อไปนี้
ก.ไฟไหม้บ้าน มีคนเจ็บสิ้นสติอยู่ในบ้าน
ข.รถยนต์ประสบอุบัติเหตุไฟไหม้ หรือเนื่องด้วยอุบัติเหตุอื่นๆ
ค.คนติดสายไฟฟ้า
ข้อ ๑๒ ผู้ให้การปฐมพยาบาล
หลักสูตร
(๑) มีความรู้วิชาปฐมพยาบาลเบื้องต้น
(๒) รู้จักตำแหน่งที่สำคัญของเส้นโลหิตแดงใหญ่ และรู้จักวิธีห้ามโลหิต
จากเส้นโลหิตดำ และเส้นโลหิตแดง
(๓) สาธิตวิธีแก้การช็อก (รวมทั้งอาการช็อกเพราะถูกไฟฟ้า)
(๔) รู้จักวิธีใช้ผ้าสามเหลี่ยมพันแผลที่ศีรษะ มือ เท้า เข่า และข้อศอก
กับรู้จักใช้ผ้าพันแผลชนิดม้วนพันแผลที่แขนและขาได้ทุกแห่ง
(๕) สาธิตวิธีผายปอดแบบปากต่อปาก โดยใช้หุ่นเป็นเครื่องประกอบ
(ห้ามสาธิตกับคน) และสาธิตวิธีผายปอดแบบฮอลเกอร์นีลเสน
(๖) สาธิตการส่งข่าวได้ถูกต้องด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร และโทรศัพท์
(๗) สาธิตวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับกระดูกไหปลาร้าหัก เข้าใจถึงความจำเป็น
ที่จะไม่เคลื่อนไหวร่างกายส่วนที่กระดูกหักหรือสงสัยว่าจะหัก
(๘) ร่วมกับลูกเสืออื่นสามหรือสี่คน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่
กรรมการสอบจะเป็นผู้สมมุติขึ้น เหตุการณ์เช่นว่านี้ ให้อนุโลมตาม
หัวข้อที่กล่าวข้างต้น และต้องปฏิบัติให้ใกล้กับความจริงเท่าที่
สามารถจะทำได้กรรมการสอบต้องดูแลการปฏิบัติงานทุกอย่าง
ให้เป็นไปโดยถูกต้อง เช่นในเรื่องการแจ้งข่าวไปยังแพทย์ ตำรวจ
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือและบิดามารดา เป็นต้น ตลอดจนการปฏิบัติ
ต่อคนเจ็บทุกระยะด้วย
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
21
ข้อ ๑๓ นักสังเกตและจำ
หลักสูตร
(๑) สามารถจำสิ่งของชนิดต่างๆได้ ๒๔ สิ่ง ใน ๓๐ สิ่ง ภายหลังที่ได้
สังเกตดูสิ่งของเหล่านั้นเป็นเวลา ๑ นาที
(๒) สามารถรู้จักเสียงธรรมดาต่างๆได้ ๘ เสียงใน ๑๐ เสียง ด้วยการ
ฟังเสียงอย่างเดียว
(๓) เดินสะกดรอยเป็นระยะทางยาว ๑ กม. โดยมีเครื่องหมายทำขึ้นด้วย
วัสดุธรรมชาติ ประมาณ ๔๐ เครื่องหมาย การสะกดรอยนี้ให้กระทำ
บนพื้นดินในบริเวณซึ่งลูกเสือไม่คุ้นเคย ในการนี้ให้เดินข้ามถนนได้
แต่ไม่ให้เดินตามถนน
(๔) เสนอรายงานอย่างถูกต้อง เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนานไม่
น้อยกว่า ๑ นาที และมีบุคคลเกี่ยวข้องด้วยไม่น้อยกว่า ๓ คน
รายงานนี้จะเป็นด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้ แต่ต้อง
ประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลหนึ่งที่เกี่ยวข้องด้วย
ตามแต่กรรมการสอบจะกำหนดให้
(๕) ใช้ปูนปลาสเตอร์หล่อรอยต่างๆ ๖ รอย จะเป็นรอยเท้าของนกหรือ
สัตว์ หรือรอยล้อรถยนต์หรือรถจักรยานก็ได้ การหล่อรอยต่างๆ
ทุกครั้ง ลูกเสือจะต้องทำด้วยตนเองโดยไม่มีผู้อื่นช่วยเหลือ และ
จะต้องมีป้ายแสดงวันที่ และสถานที่ที่ทำการหล่อติดไว้ด้วย
อย่างน้อยสองรอยจะต้องเป็นรอยเท้าของนกหรือสัตว์
ข้อ ๑๔ การพราง
หลักสูตร
(๑)สาธิตการติดตามโดยใช้เครื่องกำบัง เครื่องพราง ร่มเงา และ
สิ่งแวดล้อม โดยปฏิบัติตามหัวข้อต่อไปนี้
ก.กลางวัน
๑. เดินทาง ๑ กิโลเมตร ผ่านที่โล่งแจ้งไปยังกรรมการสอบ
ณ จุดที่กำหนดให้หรือถ้าอยู่ในเมือง ให้ติดตาม
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
22
กรรมการสอบเป็นระยะทาง ๑ กิโลเมตร และรายงาน
การกระทำต่างๆของกรรมการสอบ
๒. ใช้เครื่องพรางตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมต่างกัน
๓ อย่าง ถ้ากระทำได้ ให้พรางตัวแตกต่างกันตาม
สภาพดินฟ้าอากาศ
ข.กลางคืน
๑. เข้าไปหากรรมการสอบ ยังที่กำหนดให้ในระยะ
พอสมควร แล้วแต่ภูมิประเทศของท้องถิ่นนั้น โดย
ไม่ให้กรรมการสอบแลเห็นตัวหรือได้ยินเสียง
๒. ให้หาที่อยู่ของกรรมการสอบ ๒ คน ซึ่งอยู่ห่างกัน
พอสมควรตามสภาพของท้องถิ่น และเวลาที่ทำ
การสอบ โดยให้ลูกเสือเดินผ่านระหว่างกรรมการ
สอบนั้น
๓. แสดงว่าได้ใช้การพรางตัวติดตามและเรียนรู้เรื่องสัตว์
ป่า หรือนกที่อยู่ตามธรรมชาติอย่างน้อย ๔ ชนิด
โดยการบรรยายถึงผลที่ได้สังเกตมา จะเป็นการเขียน
ภาพร่างหรือการถ่ายภาพด้วยตนเองก็ได้
๔. หล่อรอยเท้าสัตว์ต่างๆด้วยปูนปลาสเตอร์อย่างน้อย
๓ รอย ในจำนวนนั้นรอยหนึ่งจะต้องเป็นรอยเท้าสัตว์ป่า
ข้อ ๑๕ ชาวค่าย
หลักสูตร
(๑) เคยอยู่ค่ายพักแรมโดยใช้เต็นท์ผ้าใบร่วมกับกองลูกเสือหรือหมู่ลูกเสือ
เป็นระยะเวลารวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า ๑๕ คืน (อยู่กี่ครั้งก็ได้แต่รวม
ให้ได้ ๑๕ คืน)
(๒)กางเต็นท์และรื้อถอนเต็นท์ที่ใช้ในการเดินทางไกล
(๓) สั่งและนำหมู่ให้กางและรื้อถอนตลอดจนพับเก็บเต็นท์ขนาดใหญ่
สำหรับหมู่ได้อย่างถูกต้องจนสำเร็จเรียบร้อย
(๔) รู้จักเลือกสถานที่ที่เหมาะสม สำหรับการตั้งค่ายพักแรม
(๕) แสดงว่ามีความเข้าใจในหลักสุขาภิบาล และความสำคัญของ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
23
ระเบียบ ตลอดจนความสะอาดในการอยู่ค่ายพักแรมโดยทั่วไป
(๖) สาธิตวิธีเก็บอาหารในเต็นท์ของพลาธิการ
(๗) รู้จักวิธีสร้างที่เก็บอาหาร เตาไฟ และอุปกรณ์การอยู่ค่ายพักแรม
อย่างอื่นอีกสองอย่าง ตามแต่จะเลือกโดยไม่พึ่งผู้อื่น
(๘) เมื่อไปอยู่ค่ายพักแรม สามารถหุงข้าวและทำกับข้าวไม่
น้อยกว่า ๒ อย่าง สำหรับเพื่อนลูกเสือไม่เกิน ๘ คน
(๙) มีความรู้อย่างดีในเรื่องการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ
ข้อ ๑๖ ผู้ประกอบอาหารในค่าย
หลักสูตร
(๑) สร้างครัวในค่ายพักแรมสำหรับลูกเสือ ๑ หมู่ พร้อมด้วยเตาไฟ
แล้วประกอบอาหาร ๑ มื้อ โดยหุงข้าว นึ่งข้าว หรือหลามข้าว
ทำกับข้าว ๓ อย่าง ซึ่งอย่างน้อย ๒ อย่าง ต้องประกอบด้วย
อาหารสดและทำเครื่องดื่มร้อน ๑ อย่าง
(๒) รู้จักวิธีเก็บรักษาอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ในการอยู่ค่ายพักแรม
เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ วันเต็มๆ
(๓) สามารถประกอบอาหารต่อไปนี้
ก. ข้าวหลาม
ข. ขนมหวาน ๑ อย่าง
(๔) ประกอบอาหารสด ๑ อย่าง โดยไม่ต้องใช้ภาชนะหุงต้มใดๆ
ข้อ ๑๗ ล่าม
หลักสูตร
สามารถผ่านการทดสอบต่อไปนี้ โดยใช้ภาษาต่างประเทศ
(๑) สนทนาอย่างง่ายๆเป็นเวลา ๑๐ นาที
(๒) เขียนจดหมายมีข้อความประมาณ ๑๕๐ คำ เกี่ยวกับเรื่องลูกเสือ
(๓) ภายหลังที่ได้ศึกษาเป็นเวลา ๒-๓ นาที สามารถแปลข้อความ
ตอนหนึ่งจากหนังสือพิมพ์ หรือวารสารได้ถูกต้องพอสมควร
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
24
ข้อ ๑๘ นักดนตรี
หลักสูตร
(๑) สามารถอ่าน และเขียนโน้ตสากลเบื้องต้นได้ถูกต้องตามจังหวะ
และระดับเสียง
(๒) รู้จักเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ และการประสมวงทั้งวงดนตรีไทย
และดนตรีสากล
(๓) สามารถขับร้องเพลงลูกเสือได้ถูกต้องอย่างน้อย ๑๐ เพลง
(๔) สามารถรำวงและเคลื่อนไหวตามลีลาจังหวะทำนองเพลงได้
หรือ
(๑) สามารถตีกลองจังหวะมาร์ช, จังหวะรำวง และจังหวะเซิ้งได้
(๒) สามารถใช้เครื่องดนตรีอย่างหนึ่งอย่างใด บรรเลงเพลงได้
อย่างน้อย ๓ เพลง
ข้อ ๑๙ นักผจญภัยในป่า
หลักสูตร
(๑) ทำที่พักแรมที่พอใช้การได้สำหรับ ๒ คน โดยใช้วัสดุธรรมชาติ
และให้นอนค้างคืนในที่พักแรมนั้นคนเดียวหรืออยู่กับลูกเสือ
อีกคนหนึ่ง เป็นเวลาอย่างน้อย ๑ คืน
(๒) หุงข้าว นึ่งข้าว หรือหลามข้าว กับปิ้งปลาสด ๑ ตัว
(๓) สาธิตการปฏิบัติ ๓ อย่าง ในหัวข้อต่อไปนี้
ก. เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บด้วยวิธีกะทันหัน โดยคำนึงถึง
ความปลอดภัยและความสบายของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
ข. ขึ้นต้นไม้ได้สูงอย่างน้อย ๖ เมตร แล้วผูกไม้เป็นแคร่
เพื่อใช้เป็นหอคอย
ค. แจวเรือ พายเรือหรือถ่อเรืออย่างหนึ่งอย่างใดเป็น
ระยะทางอย่างน้อย ๘๐ เมตร
ง. สร้างนาฬิกาแดด หรือเครื่องมือง่ายๆเพื่อหาทิศเหนือ
จ. ทำน้ำโคลนให้สะอาดพอที่จะใช้ประโยชน์ได้
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
25
ข้อ ๒๐ นักสำรวจ
หลักสูตร
(๑) เตรียมและดำเนินการเดินทางสำรวจสำหรับตนเองและเพื่อนลูกเสือ
อย่างน้อย ๒ คน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒ วัน โดยให้พักแรมในชนบท
ที่ตนไม่เคยไปมาก่อนหนึ่งคืน การเดินทางสำรวจอาจกระทำโดยการ
เดินเท้า รถจักรยาน ขี่ม้า เรือพาย หรือเรือแจว บรรดาอุปกรณ์ และ
อาหารสำหรับการเดินทางสำรวจ ให้ผูที้่ร่วมในการเดินทางสำรวจ
นำไปเอง
(๒) จัดทำโครงการเดินทางสำรวจและมอบให้กรรมการสอบพิจารณา
อนุมัติแล้ว ปฏิบัติตามโครงการนั้นโดยลำพังหรือร่วมกับเพื่อน
ลูกเสือ ๑ คน ให้ได้ผลเป็นที่พอใจของกรรมการสอบ
โครงการดังกล่าวควรเป็นการสำรวจอย่างง่าย เช่น การค้นหา
และทำแผนที่แสดงทางเดินเท้า ทางเกวียน ทางรถยนต์ ทางน้ำ
ภายในรัศมี ๑.๕ กม. จากจุดที่กำหนดให้
(๓) เดินทางไกลร่วมกับเพื่อนลูกเสือคนหนึ่ง เป็นระยะทาง ๕ กม.
โดยใช้เข็มทิศและอาจใช้แผนที่ประกอบได้ การใช้เข็มทิศ
ให้กำหนดทิศทางเป็นองศาต่างกัน ๖ อย่าง
ข้อ ๒๑ มัคคุเทศก์
หลักสูตร
(๑) รู้สถานที่ต่างๆในท้องถิ่นรอบบ้าน และรอบที่ตั้งกองลูกเสือของตน
ถ้าบ้านและกองลูกเสือนั้นอยู่ในเขตเทศบาล ต้องรู้ภายใน
รัศมี ๑.๕ กม. และถ้าเป็นชนบท รัศมี ๓ กม.
(๒) รู้ว่าบุคคลและสถานที่ต่อไปนี้อยู่ที่ไหน
ก.แพทย์, สัตวแพทย์, ทันตแพทย์, โรงพยาบาล และรถพยาบาล
ข.สถานีดับเพลิง, สถานีตำรวจ, อู่ซ่อมรถ และโทรศัพท์สาธารณะ
ค.ที่หยุดรถประจำทาง, สถานีรถไฟ, เส้นทางเดินรถประจำทาง
และรถไฟไปยังตำบลใกล้เคียง
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
26
ง. สวนสาธารณะ, โรงละคร, โรงภาพยนตร์, วัด, สถานที่สำคัญ
ทางศาสนา, พิพิธภัณฑสถาน, ที่ตั้งหน่วยทหาร, สถานบริการ
สาธารณะ และอาคารหรือสถานที่ที่น่าสนใจในท้องถิ่นนั้น
จ. สำนักงานลูกเสือ, ค่ายลูกเสือ, บ้านพักของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
และบ้านเพื่อนลูกเสือในหมู่เดียวกัน
(๓) แสดงว่าเข้าใจวิธีใช้แผนที่ของท้องถิ่น และสามารถชี้สถานที่ต่างๆ
ดังที่ระบุไว้ในข้อ ๒ ข้างต้น อย่างน้อย ๖ แห่ง กับทั้งสามารถ
นำกรรมการสอบไปยังสถานที่ข้างต้นแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยทางลัดที่สุด
(๔) ภายในเขตท้องที่ของตำรวจนครบาล กรรมการสอบอาจใช้ดุลพินิจ
เลือกสอบเรื่องต่อไปนี้แทนข้อ ๒ ก., ข., ค. และ ง. ได้คือ
มีความรู้ทั่วไปอย่างแท้จริง เกี่ยวกับทางรถไฟสายสำคัญๆ
ของประเทศ สถานีขนส่งที่สำคัญ สถานีการบิน และสถานที่สำคัญ
ของชาติ ๑๒ แห่ง (เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม อนุสาวรีย์พระเจ้า-
ตากสินมหาราช หอสมุดแห่งชาติ เป็นต้น)
ข้อ ๒๒ ช่างเขียน
หลักสูตร
(๑) เขียนภาพหรือวาดภาพด้วยสี แสดงเหตุการณ์ตอนหนึ่งจากเรื่องราว
ซึ่งกรรมการสอบกำหนดให้
(๒) เขียนภาพหรือวาดภาพด้วยสี คนจริงๆหรือสิ่งของที่อยู่ตรงหน้า
(๓) เขียนภาพหรือวาดภาพด้วยสี ภูมิประเทศซึ่งกรรมการสอบกำหนดให้
(๔) จัดทำสมุดภาพสเก๊ตช์ด้วยตนเองเป็นเวลา ๖ เดือน ไม่น้อยกว่า ๒๔ ภาพ
ข้อ ๒๓ นักสัญญาณ
หลักสูตร
(๑) ส่งและรับข้อความได้ไม่น้อยกว่า ๘๐ ตัวอักษร ด้วยสัญญาณธงคู่
ในอัตรา ๑ นาที ต่อ ๓๐ ตัวอักษร หรือสัญญาณธงเดี่ยวในอัตรา ๑ นาที
ต่อ ๒๐ ตัวอักษร
(๒) ส่งและรับข้อความได้ไม่น้อยกว่า ๘๐ ตัวอักษร ตามระบบมอร์ส
ด้วยใช้เสียง ในอัตรา ๑ นาที ต่อ ๒๕ ตัวอักษร
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
27
หรือใช้แสง ในอัตรา ๑ นาที ต่อ ๒๐ ตัวอักษร
(๓) สาธิตระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการส่ง และรับข่าวสารโดยสัญญาณ
หมายเหตุ ในการทดสอบทุกครั้ง ให้มีความถูกต้องร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
สถานที่กลางแจ้งสำหรับส่งข่าวและรับสัญญาณ ต้องห่างกัน
ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร ส่วนสถานที่สำหรับส่ง-รับสัญญาณ-
เสียงต้องแยกห้องกัน
ข้อ ๒๔ นักบุกเบิก
หลักสูตร
(๑) สาธิตการใช้เชือกต่อไปนี้
ขันชะเนาะ, ผูกรอก, พันหัวเชือกธรรมดา และต่อยาว
(๒) สอบผ่านหรือทบทวนวิธีใช้มีด และขวานตามหลักสูตรลูกเสือเอก
(๓) ควบคุมการสร้างสะพานยาวอย่างน้อย ๓.๖๐ เมตร หรือแพ
ซึ่งรับน้ำหนักตัวเอง และเพื่อนลูกเสืออีกคนหนึ่งได้
(๔) สร้างเสาธงด้วยพลองลูกเสือ ๓ อัน โดยใช้วิธีผูกแน่นต่อกัน
(๕) ทำห่วงสวมผ้าผูกคอลูกเสือแบบกิลเวลล์ โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น
ข้อ ๒๕ นักธรรมชาติศึกษา
หลักสูตร
เลือกทำเพียง ๒ ข้อ
(๑) สะสมดอกไม้ ใบไม้ และหญ้ารวมกัน ๑๐ ชนิด เป็นเวลา
อย่างน้อย ๑ สัปดาห์ ให้บอกชื่อ สถานที่ และวันที่เก็บ กับบรรยายสั้นๆ
เกี่ยวกับ ดอกไม้ ใบไม้และหญ้าจากตัวอย่างที่เก็บไว้นั้น
(๒) สะสมภาพใบไม้จากต้นไม้ยืนต้น ๗ ชนิด และไม้พุ่ม ๓ ชนิด
เป็นเวลาอย่างน้อย ๑ สัปดาห์ ให้บอกชื่อ สถานที่ และวันที่เก็บ
กำกับไว้ด้วย ภาพดังกล่าวจะเป็นภาพถ่าย ภาพลอกกระดาษ
คาร์บอน ภาพร่างหรือภาพหล่อด้วยปูนปลาสเตอร์ก็ได้ ในการนี้
ให้เขียนคำบรรยายสั้นๆประกอบต้นไม้ยืนต้นและไม้พุ่มดังกล่าวด้วย
(๓) เขียนภาพร่างของสัตว์หรือนกจากของจริง ๑๐ ภาพ กับบรรยายสั้นๆ
เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของสัตว์หรือนกเหล่านั้น
(๔) เลี้ยงปลาชนิดต่างๆด้วยตนเองไว้ในอ่างหรือตู้เลี้ยงปลา
เป็นเวลา ๓ เดือน และสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับปลาตามที่ตน
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
28
ได้สังเกตมา
ข้อ ๒๖ ช่างเบ็ดเตล็ด
หลักสูตร
เลือกสาธิตให้กรรมการสอบดู ๘ อย่างต่อไปนี้ โดยลูกเสือเป็นผู้เลือก
(๑) ทาสีประตูบ้านหรือรั้วบ้าน
(๒) ทาปูนขาวหรือทาสีกำแพง
(๓) ปรับกระดิ่งไฟฟ้า เปลี่ยนโคมไฟฟ้า ติดโป๊ะไฟฟ้า และเปลี่ยนฟิวส์
(๔) เปลี่ยนก๊อกน้ำ
(๕) รื้อพรมทำความสะอาดแล้วปูใหม่
(๖) ลับมีด
(๗) รู้วิธีที่จะปฏิบัติทันทีเมื่อท่อน้ำ หรือท่อแก๊สแตก หรือรั่ว
(๘) แก้ไขรางน้ำหรือท่อน้ำตัน
(๙) ซ่อมประตูบ้าน หน้าต่าง หรือรั้ว
(๑๐) ติดกระดุมและเครื่องหมายลูกเสือให้เรียบร้อย
(๑๑) ชุนถุงเท้าที่ขาดรูเล็กๆ
(๑๒) ปะเสื้อผ้าที่ขาดอย่างเรียบร้อย
(๑๓) ยอดน้ำมันและปรับรถตัดหญ้า
(๑๔) ทำความสะอาดและใช้ยาขัดตัวถังรถยนต์ให้ขึ้นเงา
(๑๕) ผสมคอนกรีต และใช้คอนกรีตซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุดเล็กๆน้อยๆ
ข้อ ๒๗ ผู้บริบาลคนไข้
หลักสูตร
(๑) สาธิตวิธีเลือก จัด เตรียมห้อง และระบายอากาศสำหรับคนไข้
(๒) รู้จักวิธีอาบน้ำคนไข้ และให้ยา สาธิตวิธีวัดปรอทและวัดชีพจร
(๓) สาธิตการเตรียมอาหารคนไข้ และการอุ่นอาหาร รู้วิธีป้องกันไม่ให้
คนไข้นอนบนเตียงจนเป็นแผลที่หลัง
(๔) สาธิตการเตรียมเครื่องยาและผ้าพันแผล ตลอดจนวิธีใช้ผ้าพันแผล
ชนิดม้วน พันแผลที่มือ เข่า และเท้า
(๕) ปฏิบัติให้ครบทุกข้อดังกล่าวข้างต้น โดยจัดขึ้นภายในค่ายพักแรม
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
29
(ให้ถือเสมือนห้องคนไข้) รู้วิธีเตรียมเต็นท์สำหรับให้คนไข้พักผ่อน
ข้อ ๒๘ นักจับปลา
หลักสูตร
(๑) รู้จักกฎแห่งความปลอดภัยทางน้ำ เข้าใจถึงอันตรายและข้อควรระวัง
จากการเดินลุยน้ำ
(๒) รู้กฎหมายว่าด้วยการประมง เช่นเกี่ยวกับฤดูที่ห้ามจับปลา และ
ขนาดของปลาที่ห้ามจับ รู้ความจำเป็นในการรักษาตลิ่งของแม่น้ำลำคลอง
(๓) มีความรู้เกี่ยวกับปลาในท้องถิ่นของตนอย่างน้อย ๕ ชนิด
(๔) จับปลาด้วยวิธีใดก็ได้ แล้วนำมาประกอบอาหาร(ห้ามใช้กระแสไฟฟ้า
วัตถุระเบิด หรือสารมีพิษ)
(๕) เตรียมคันเบ็ด สายเบ็ด เบ็ด เหยื่อ และทำทุ่นตกปลา แล้วประกอบ
เป็นคันเบ็ด พร้อมที่จะตกปลาได้
(๖) รู้จักขนาดของเบ็ดที่จะใช้กับปลา และมีความรู้เรื่องเหยื่อที่ใช้ตกปลา
ข้อ ๒๙ ผู้ช่วยต้นเด่น
หลักสูตร
(๑) สามารถซ่อมเรือรั่วเล็กน้อย ด้วยกรรมวิธีต่างๆ เช่น ตอกหมัน ยาชัน เป็นต้น
(๒) สามารถผูกเงื่อนต่อไปนี้
ผูกซุง (Timber Hitch)
ตะกรุดเบ็ด ๒ ชั้น (Rolling Hitch)
ขันชะเนาะกับชะโด (Marline Spike Hitch)
หักคอขอ (Blackwall Hitch)
หักคอขอ ๒ ชั้น (Midshipman’s Hitch)
เงื่อนประมง (Fisherman’s Bend)
เงื่อนยายแก่ (Carrick Bend)
บ่วงสายธนู ๒ ชั้น (Bowline on bight)
กะห่วง (Running Bowline)
เงื่อนตีนแมว (Catspaw)
กับสามารถผูกปลายขอกันหลุด (mouse a hook) ต่อสั้น (Short Splice)
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
30
และแทงบ่วงตา (Eye Splice)
(๓) สามารถสร้างเครื่องป้องกันการกระทบกระแทกเรือ (ลูกตะเพรา)
ด้วยเชือก ผ้าใบ หรือยางรถยนต์
(๔) มีบทบาทสำคัญในการทำความสะอาดเรือและทาสีเรือ
(๕) รู้จักอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับใช้ในเรือ
(๖) รู้จักการเรียกชื่อสิ่งต่างๆที่ใช้ในเรือ
ข้อ ๓๐ นักพายเรือ
หลักสูตร
(๑) ว่ายน้ำระยะทาง ๔๕ เมตร โดยมีเครื่องแต่งกายอยู่ด้วย คือ
เสื้อ กางเกงขาสั้น และถุงเท้า เป็นอย่างน้อย
(๒) ให้ปฏิบัติต่อไปนี้
ก.เข็นเรือพายลงน้ำแล้วผูกเรือ
ข.ลงเรือแล้วพายไปกลางแม่น้ำ
ค. แสดงวิธีพายเรืออันถูกต้อง โดยพายเรือทวนน้ำ
ระยะทาง ๔๕ เมตร แล้วกลับลำพายกลับที่เดิม
ง. แสดงวิธีกู้เรือล่ม โดยการวิดน้ำออกขณะที่ตัวเองลอยคอ
อยู่ในน้ำ แล้วขึ้นเรือพายกลับเข้าฝั่ง
(๓) สามารถซ่อมเรือพายได้ รู้จักเครื่องมือและเครื่องใช้ที่จำเป็น
ในการซ่อมเรือซึ่งต้องนำติดเรือไป และรู้วิธีรักษาเรือพายให้
อยู่ในสภาพที่ดี
ข้อ ๓๑ นายท้ายเรือบด
หลักสูตร
(๑) บอกชื่อเรือบดแบบต่างๆไม่น้อยกว่า ๔ แบบ และเรียกชื่อส่วนต่างๆ
ของเรือได้ โดยการสาธิตให้เห็นจริง
(๒) ดูแลลูกเรือและสาธิตให้เห็นว่าสามารถ
ก.ใช้วิธีกระเชียงเรือได้ถูกต้อง
ข.นำเรือเข้าใกล้เรือใหญ่หรือเกยฝั่งได้
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
31
ค.ทอดสมอได้แม่นยำ
ง. รักษาระเบียบเรือได้ถูกต้อง
(๓) รู้จักกฎจราจรทางน้ำเบื้องต้นสำหรับเรือกลไฟ และเรือยนต์
รวมทั้งรู้กฎข้อบังคับในการใช้เรือเล็กในเขตท้องที่นั้นๆ
(๔) นำเงื่อนต่อไปนี้ไปใช้ให้ถูกต้อง ผูกตะกรุดเบ็ด เงื่อนประมง
(๕) รู้จักอุปกรณ์ที่ต้องนำไปใช้ในเรือกระเชียงได้อย่างถูกต้อง
(๖) ร่วมกับเพื่อนลูกเสือไปเดินทางไกลทางน้ำเป็นเวลา
ไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง รวมทั้งอยู่ค่ายพักแรมหนึ่งคืนด้วย
ข้อ ๓๒ นักกระเชียงเรือ
หลักสูตร
(๑) รู้จักชนิดและชื่อส่วนต่างๆของเรือกระเชียง
(๒) รู้จักเครื่องประกอบของเรือกระเชียง และสิ่งของที่ใช้ในเรือกระเชียง
(๓) รู้จักวิธีคำนวณหาน้ำหนักในการบรรทุกคน และสิ่งของใน
เรือกระเชียง
(๔) รู้จักวิธีการปฏิบัติในการขึ้นลงเรือกระเชียง และข้อพึงปฏิบัติ
ในเรือกระเชียง
(๕) สามารถตีกระเชียงตามแบบฝึกของทหารเรือได้
(๖) รู้จักวิธีการเคารพในเรือกระเชียงและการขานตอบระหวา่ งเรือใหญ่
กับเรือเล็ก
(๗) สามารถเป็นนายท้ายเรือกระเชียง นำเรือเข้าเทียบและออกจาก
เทียบได้ โดยรู้จักใช้เชือกให้เป็นประโยชน์ในการดึง เหนี่ยว สาว รั้ง
หรือต๋งตลอดจนรู้วิธีการนำเรือเข้าฝั่ง และออกจากฝั่งในเวลามี
คลื่นลมจัดได้อย่างปลอดภัย
ข้อ ๓๓ นักแล่นเรือใบ
หลักสูตร
(๑) สอบผ่านหลักสูตรนักกระเชียงเรือ
(๒) รู้จักเรือใบและส่วนประกอบต่างๆของเรือใบ
(๓) สามารถติดสายระโยงระยาง และขึงใบสำหรับแล่นเรือได้
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
32
และมีความรู้ในการใช้เชือกผูกเงื่อนต่างๆ
(๔) สามารถแล่นใบได้ทุกทิศทาง
(๕) สามารถกู้เรือได้
(๖) รู้กฎหรือข้อบังคับการเดินเรือสากล
ข้อ ๓๔ นักดาราศาสตร์เบื้องต้น
หลักสูตร
(๑) มีความรู้ทั่วไปในเรื่องลักษณะของดาวฤกษ์ และดาวพระเคราะห์
ต่างๆ ตลอดจนการโคจรของดาวเหล่านั้น
(๒) สามารถชี้และบอกชื่อของหมู่ดาวต่างๆที่ปรากฏบนท้องฟ้าได้ เช่น
หมู่ดาวหมีใหญ่ หรือหมู่ดาวจระเข้ (Ursa Major)
หมู่ดาวหมีเล็ก (Ursa Minor)
หมู่ดาวพระราชินี หรือหมู่ดาวค้างคาว (Cassiopeia)
หมู่ดาวนายพรานล่าเนื้อ หรือหมู่ดาวไถ (Orion)
(๓) สามารถชี้และบอกชื่อดาวฤกษ์หรือดาวพระเคราะห์ที่สามารถ
มองเห็นด้วยตาเปล่าได้
(๔) สามารถหาทิศในเวลากลางคืน โดยอาศัยการดูดาวต่างๆในเมื่อ
มองไม่เห็นดาวเหนือ
(๕) สามารถอธิบายเกี่ยวกับลักษณะขนาดที่ตั้งสัมพัทธ์ของดาวอาทิตย์
โลก ดวงจันทร์ และดาวพระเคราะห์อื่นๆ ตลอดจนการโคจรของ
ดวงดาวต่างๆ และสาเหตุที่ทำให้เกิดข้างขึ้น ข้างแรม สุริยคราส
และจันทรคราส
ข้อ ๓๕ นักอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น
หลักสูตร
(๑) ทำบันทึกประจำวัน จากการสังเกตของตนเองเกี่ยวกับเรื่อง
ลมฟ้าอากาศอย่างน้อย ๔ เรื่อง คือ
ก.กำลังและทิศทางของลม
ข.ชนิดและปริมาณของเมฆ
ค.อุณหภูมิ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
33
ง.ความชื้น
จ.ความกดอากาศ
ฉ.ปริมาณน้ำฝน
(๒) สามารถอ่านแผนที่อากาศ และการพยากรณ์อากาศอย่างง่ายๆได้
(๓) สร้างเครื่องมือง่ายๆเพื่อวัดปริมาณน้ำฝน และกำลังแรงของลม กับ
รู้จักติดตั้งเครื่องมือเหล่านี้เพื่อให้ได้สถิติที่พอเชื่อถือได้
(๔) สามารถอธิบายการเกิดของน้ำค้าง หมอก และลูกเห็บ
(๕) รู้สัญญาณธรรมชาติอย่างน้อย ๒ อย่าง ที่บอกอากาศดีและ
อากาศเลวล่วงหน้า
ข้อ ๓๖ ยามอากาศเบื้องต้น
หลักสูตร
(๑) สามารถบอกชื่ออากาศยานจากภาพถ่ายหรือภาพเงาดำ
ตามฉบับพิมพ์ของกองทัพอากาศที่นำมาให้ดูจำนวน ๑๐ ภาพ
ภาพละ ๑๐ วินาที จะต้องบอกได้ถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕
(๒) จัดทำสมุดบันทึกเป็นเวลา ๓ เดือน รายงานถึงอากาศยานที่ได้
พบเห็นว่าเป็นแบบใด มีส่วนใดที่เด่นสะดุดตา และบินมุ่งไปทางไหน
ตลอดจนวัน เวลาที่บินผ่านไปด้วย
(๓) เลือกปฏิบัติข้อหนึ่งข้อใด
ก. รู้จักและบอกชื่อเครื่องหมายอากาศยานของชาติต่างๆทั้ง
อากาศยานทหารและพลเรือน อย่างน้อย ๖ ประเทศ รวมทั้ง
ของประเทศไทย
หรือ ข. เข้าใจการให้ระบบอักษรเครื่องหมายมาตรฐานอากาศยาน
ของกองทัพอากาศ และสามารถให้ตัวอย่างได้ ๓ อย่าง
(๔) สามารถชี้ลักษณะของอากาศยาน ๖ แบบ ซึ่งกรรมการสอบเป็นผู้เลือก
ข้อ ๓๗ นักเครื่องบินเล็กเบื้องต้น
หลักสูตร
(๑) สร้างเครื่องบินเล็ก (อนุญาตให้ใช้ชุดสำเร็จรูปได้) ซึ่งจะต้องมี
สมรรถนะในการบินอย่างน้อย ๒ อย่าง ดังต่อไปนี้
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
34
ก. เครื่องร่อน (พุ่งด้วยมือ) บินได้นานไม่ต่ำกว่า ๒๕ วินาที
ข. เครื่องร่อน (สายลากยาวไม่เกิน ๑๖๔ ฟุต) บินได้นาน
ไม่ต่ำกว่า ๔๕ วินาที
ค. เครื่องบินเล็ก ใช้ยาง บินได้นานไม่ต่ำกว่า ๓๐ วินาที
ง. เครื่องบินเล็ก ใช้เครื่องยนต์ บินได้นานไม่ตํ่ากวา่ ๔๕ วินาที
จ. เครื่องบินเล็ก ใช้สายบังคับ แสดงการบินวิ่งขึ้นอย่างเรียบร้อย
บินระดับระยะสูง ๖ ฟุต สามครั้ง บินไต่และบินดำ ในที่สุดลง
สนามได้อย่างเรียบร้อย
(๒) มีความรู้ในทฤษฎีการบินเบื้องต้น ตลอดจนอิทธิพลจากแกนทั้งสาม
อันมีต่อการบังคับและเสถียรภาพของอากาศยาน
ข้อ ๓๘ นักสะสม
หลักสูตร
(๑) สะสมสิ่งของ ๑ ชนิด จัดเป็นหมวดหมู่อย่างมีระเบียบเรียบร้อย
เป็นเวลาอย่างน้อย ๓ เดือน
ข้อสังเกต
ก. ลูกเสือเป็นผู้เลือกสิ่งของที่จะสะสมเอง สิ่งที่เสนอแนะให้
สะสมมีดังนี้ คือ ดวงตราไปรษณียากร ตราไม้ขีดไฟ
เหรียญกษาปณ์ เปลือกหอย ภาพและเครื่องหมายต่างๆ
ข. สิ่งของที่สะสม ต้องมีจำนวนพอสมควร และมีคุณภาพดี
ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของกรรมการสอบ
(๒) อภิปรายกับกรรมการสอบถึงเหตุผลที่เลือกสะสม รู้เรื่องราวเกี่ยวกับ
สิ่งของที่สะสม และแสดงให้เห็นว่ามีความสนใจอย่างจริงจังในสิ่ง
ที่สะสมนั้น
ข้อ ๓๙ บรรณารักษ์
หลักสูตร
(๑) เลือกปฏิบัติเพียงข้อเดียว
ก. ทำบัญชีรายชื่อหนังสืออย่างน้อย ๑๒ เล่ม ที่ตนได้อ่านใน
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
35
ระยะเวลา ๑๒ เดือนที่ผ่านมา เสนอต่อกรรมการสอบ กับ
สามารถอธิบายเหตุผลที่อ่าน ข้อคิดเห็นและตอบปัญหา
เกี่ยวกับเนื้อหาของหนังสือนั้นได้
หมายเหตุ บัญชีดังกล่าวควรประกอบด้วย หนังสือทั้งประเภท
นิยาย และไม่ใช่นิยาย โดยผู้แต่งคนเดียวกัน ไม่เกิน ๓ เล่ม
และไม่รวมถึงตำราเรียนในโรงเรียน
ข. ทำบรรณานุกรม (bibliography) อย่างย่อๆเกี่ยวกับหัวข้อวิชา
ที่สนใจเป็นพิเศษ อธิบายการคัดเลือกหนังสือ และตอบปัญหา
เกี่ยวกับเนื้อหาของหนังสือนั้นได้
(๒) สามารถบรรยายถึงวิธีเข้าเล่มหนังสือ โดยใช้คำพูดอย่างง่ายๆ
(๓) แสดงว่ารู้จักวิธีใช้บัตรหนังสือ อธิบายวิธีจัดหนังสือประเภทที่เป็น
นวนิยายและประเภทสารคดี กับสามารถให้เหตุผลว่าทำไมจึง
จัดแตกต่างกัน
(๔) รู้ความหมายของหนังสืออ้างอิง และสามารถใช้หนังสืออ้างอิงได้
ข้อ ๔๐ นักกรีฑา
หลักสูตร
ให้เลือกปฏิบัติรวม ๔ อย่างจากกรีฑาประเภทลู่และประเภทลาน
ต่อไปนี้หมวดละ ๑ อย่าง และให้ได้มาตรฐานอย่างต่ำ ดังนี้
ประเภทลู่ อายุต่ำกว่า ๑๔ ปี อายุตั้งแต่ ๑๔ ขึ้นไป
หมวด ก. วิ่ง ๑๐๐ เมตร ๑๖ วินาที ๑๕ วินาที
วิ่ง ๒๐๐ เมตร ๓๖ วินาที ๓๓ วินาที
วิ่ง ๔๐๐ เมตร ๑ นาที ๒๔ วินาที ๑ นาที ๑๕ วินาที
วิ่ง ๘๐๐ เมตร ๓ นาที ๒๐ วินาที ๓ นาที ๘ วินาที
หมวด ข. วิ่ง ๑,๕๐๐ เมตร ๖ นาที ๑๐ วินาที ๕ นาที ๕๐ วินาที
ประเภทลาน
หมวด ก. วิ่งกระโดดสูง ๑.๑๐ เมตร ๑.๒๓ เมตร
วิ่งกระโดดสูง ๓.๓๐ เมตร ๔.๐๐ เมตร
หมวด ข. ขว้างจักร ( ๑ กก.) ๑๕.๐๐ เมตร ๒๐.๐๐ เมตร
ทุ่มน้ำหนัก (๔ กก.) ๖.๓๐ เมตร ๗.๘๔ เมตร
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
36
หมายเหตุ กรรมการสอบอาจลดหย่อนข้อกำหนดลงได้ในกรณีที่มีลมแรง หรือสภาพพื้นที่ไม่ดี
ข้อ ๔๑ นักขี่ม้า
หลักสูตร
(๑) ขึ้นนั่งบนหลังม้าได้อย่างมั่นคงโดยไม่ต้องใช้บังเหียน และแสดงให้
เห็นว่า สามารถใช้อุปกรณ์ง่ายๆสำหรับการขี่ม้าอย่างถูกต้อง
(๒) มีความรู้ในการเลี้ยงดูม้า และใช้งานม้าในเมื่อไม่มีหญ้า
(๓) แสดงให้เห็นว่าสามารถบังคับม้าบนถนน ในเมือง และในชนบท
โดยคำนึงถึงวิธีใช้ถนน ความปลอดภัย มารยาทและประเพณีของชนบท
ข้อ ๔๒ มวยไทยเบื้องต้น
หลักสูตร
(๑) เข้าใจศิลปะการต่อสู้ด้วยวิชามวยไทย
(๒) รู้จักประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกวิชามวยไทย
(๓) รู้จักการบริหารร่างกายสำหรับมวยไทย
(๔) รู้จักความปลอดภัยต่างๆในการฝึกมวยไทย
(๕) สามารถสาธิตทักษะเบื้องต้น ของการฝึกชกมวยไทยดังนี้
ก.การคุมท่า (Guard)
ข.การเคลื่อนที่ (Footwork)
ค.การใช้หมัด เท้า เข่า และศอก ในลักษณะต่างๆ
ง.การป้องกันหมัด เท้า เข่า และศอก
(๖) เข้าใจศิลปะและสามารถไหว้ครูแบบมวยไทยได้
ข้อ ๔๓ มวยสากลเบื้องต้น
หลักสูตร
(๑) เข้าใจศิลปะการต่อสู้ด้วยวิชามวยสากล
(๒) รู้จักประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกวิชามวยสากล
(๓) รู้จักการบริหารร่างกายสำหรับมวยสากล
(๔) รู้จักความปลอดภัยต่างๆในการฝึกมวยสากล
(๕) สามารถสาธิตทักษะเบื้องต้นของการฝึกชกมวยสากล ดังนี้
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
37
ก.การคุมท่า (Guard)
ข.การเคลื่อนที่ (Footwork)
ค.การใช้หมัดต่างๆ คือ หมัดตรง (Jab) หมัดเสย (Upper cut)
หมัดฮุค (Hook) หมัดชุด หมัดผสม หมัดเหวี่ยง (Swing)
ง.แสดงการป้องกันหมัดต่างๆ
ข้อ ๔๔ กระบี่กระบองเบื้องต้น
หลักสูตร
(๑) รู้ประวัติกระบี่กระบองของไทย
(๒) ทราบประโยชน์ของวิชากระบี่กระบอง
(๓) รู้จักอุปกรณ์กระบี่กระบอง
(๔) รู้จักเครื่องดนตรีประกอบการเล่น
(๕) ภาคปฏิบัติ สามารถใช้เครื่องกระบี่กระบอง ๑ อย่าง ดังต่อไปนี้
-การถวายบังคับ
-การขึ้นพรหมนั่ง-ยืน
-ท่าคุม
-การรำ
-การเดินแปลง
-การลดล่อ
-ท่าเดินเข้าหาคู่ต่อสู้ (ย่างสามขุม)
-การหัดตีท่าหลัก (การตีรุก-การตีรัน)
ข้อ ๔๕ นักยิงปืนเบื้องต้น
หลักสูตร
(๑) รู้จักกฎแห่งความปลอดภัยเกี่ยวกับการยิงปืน
(๒) รู้จักส่วนต่างๆของปืนยาวอัดลม วิธีใช้ การรักษาและการทำ
ความสะอาด
(๓) แสดงเป้าตามที่กำหนด ซึ่งยิงได้ด้วยตนเองภายใน ๖ สัปดาห์ที่แล้ว
สำหรับการทดสอบ ต้องทำแต้มได้ไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้และ
เป้าที่ยิงจะต้องได้รับการรับรองจากผู้สอนด้วย
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
(๔) ภาคปฏิบัติการยิงปืน
ใช้ปืนยาวอัดลม ระยะยิง ๒๕ ฟุต ท่ายิงให้ใช้ท่านอนยิง และ
ใช้เป้ามาตรฐานของสมาคมยิงปืน(เอ็น. อาร์. เอ.) ชนิดเป้าละ ๕ ตาวัว
ยิงตาวัวละ ๕นัด กำหนดเวลายิงนัดละ ๑ นาที
การตัดสิน โดยนับเปา้ ตาวัวที่ได้แต้มต่ำที่สุดและแต้มต่ำสุดของ
แต่ละเป้าตาวัวต้องไม่ต่ำกว่า ๒๕ แต้ม
ข้อ ๔๖ การอนุรักษ์ธรรมชาติ
หลักสูตร
มีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น ๔ ภาค คือ ภาคทักษะ, ภาคความรู้,
ภาคความเข้าใจ และภาคการเผยแพร่
ให้ปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้ ภาคละ ๑ กิจกรรม ในฐานะสมาชิก
ของกลุ่มหรือหมู่ลูกเสือ
ก. ภาคทักษะ
๑. สร้างสวนไม้ดอกที่มีกลิ่นหอมสำหรับคนตาบอด
๒. ทำการอนุรักษ์และบำรุงรักษาสระน้ำ โดยขออนุญาตเจ้าของ
สถานที่และขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเมื่อจำเป็น
๓. สร้างที่กำบังตนเอง เพื่อใช้สังเกตชีวิตสัตว์ป่า (โดยเฉพาะใช้
พักตอนกลางคืนตลอดคืน) และรายงานสิ่งที่พบเห็น
๔. ช่วยเหลือในการอนุรักษ์แหล่งน้ำ เช่น ลำธาร หรือคลอง
เป็นระยะเวลา ๑ เดือน
๕. สำรวจบริเวณที่ดินที่ถูกทอดทิ้ง บันทึกว่าธรรมชาติได้ปรับปรุง
ที่ดินแปลงนี้อย่างไร แล้วให้วางแผนและหากเป็นไปได้
ให้ดำเนินการปรับปรุงที่ดินแปลงนี้ให้อยู่ในสภาพที่ดีต่อไป
ข. ภาคความรู้
๑. สามารถบอกให้ทราบถึงอันตรายที่มีต่อสุขภาพ อันเกิดจาก
การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา หรือการเสพยาเสพติด
๒. อธิบายถึงมลภาวะชนิดต่างๆในดินที่มีผลกระทบกระเทือน
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
39
ต่อการเจริญเติบโตของพืช ตลอดจนอธิบายถึงวิธีป้องกันที่
จำเป็น
๓. ชี้แจงให้เห็นว่ามลภาวะที่เกิดจากยวดยานต่างๆมีผล
กระทบกระเทือนต่อประชาชน พืชและสิ่งก่อสร้างอย่างไรบ้าง
อธิบายสิ่งที่ค้นพบโดยใช้ภาพประกอบ
๔. แสดงให้เห็นถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดมลภาวะของน้ำ และ
ทำอย่างไรจึงจะบรรเทาภาวะนั้นลงได้บ้าง
๕. สามารถบอกได้ว่าหน่วยงานของรัฐ การอุตสาหกรรม และ
หน่วยงานอื่นๆ ได้ช่วยประชาชนให้ตระหนักถึงความสำคัญ
ของการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างไร
ค. ภาคความเข้าใจ
๑. จัดเตรียมรายการตรวจสอบในสิ่งที่จะต้องทำและสิ่งไม่ควรทำ
สำหรับผู้อยู่ค่ายพักแรมและผู้เดินทางไกล เพื่อจะได้ไม่
ทำลายหรือทำอันตรายแก่ธรรมชาติ ส่งสำเนาบัญชี
ตรวจสอบฯให้แก่สมาชิกทุกคนในกอง
๒. ตรวจสอบดูว่าท่านสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อเป็นการ
อนุรักษ์สัตว์หรือพืชในท้องถิ่นของท่าน ซึ่งกำลังจะถูกทำลาย
จนสูญพันธุ์ หาวิธีที่จะช่วยให้สิ่งเหล่านี้ปลอดภัย ถ้าเป็นไป
ได้ให้ช่วยกันปฏิบัติโดยขอรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
๓. รู้ว่าทำไมสัตว์หลายๆชนิดในโลกถูกคุกคามจนใกล้จะสูญพันธุ์
และเสนอแนะว่า หมู่ของท่านสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อ
ช่วยสัตว์เหล่านั้นให้ยังชีพต่อไป
๔. ทำรายการตรวจสอบ สิ่งที่อยู่ค่ายพักแรมของกองลูกเสือ
สามารถก่อให้เกิดมลภาวะ พร้อมทั้งเสนอแนะวิธีที่จะ
ป้องกันสิ่งเหล่านี้ และจัดเตรียมเพื่อการอภิปรายในที่
ประชุมนายหมู่ ก่อนที่ท่านจะอยู่ค่ายพักแรมครั้งต่อไป
๕. วางแผน และปฏิบัติโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติให้สำเร็จด้วยดี
โดยร่วมกับสมาชิกของกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ง. ภาคการเผยแพร่
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
๑. วางแผน และดำเนินการรณรงค์การอนุรักษ์พลังงาน ณ ที่หนึ่ง
ที่ใดต่อไปนี้ ที่บ้าน, โรงเรียน, ที่ทำงาน, ที่ค่าย หรือที่ประชุมกอง
สนับสนุนการรณรงค์ของท่านโดยใช้ป้ายประกาศ
นิทรรศการ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์และวัสดุในการโฆษณา
๒. ช่วยจัดเส้นทางให้ลูกเสือสำรองสำรวจ และเดินทางศึกษาธรรมชาติ
๓. วางโครงการที่จะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น
ส่วนหนึ่งของโครงการ การเดินทางสำรวจ
๔. สำรวจท้องถิ่นของท่านเพื่อหาตัวอย่างว่า คนทำความ
เสียหายให้แก่ธรรมชาติอย่างไรบ้าง แสดงให้เห็นว่า
เราสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร ส่งผลการสำรวจ
ของท่านให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
๕. สำรวจท้องถิ่นของท่านเพื่อหาตัวอย่างว่า คนมีความพยายาม
ที่จะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอย่างไร ส่งหนังสือชมเชยไป
ยังหน่วยงาน หรือองค์การที่ช่วยดำเนินงานในสิ่งเหล่านี้
หมายเหตุ
๑. การเลือกกิจกรรม อาจจะทำได้โดยได้รับความยินยอมจากที่ประชุมนายหมู่
๒. ควรจะขอคำปรึกษาจากบุคคลที่มีความสามารถเป็นพิเศษในเรื่องการอนุรักษ์
ธรรมชาติ เพื่อช่วยในการเลือกโครงการ และการจัดเตรียมโครงการสำรอง
ข้อ ๔๗ การหามิตร
หลักสูตร
(๑) มีการโต้ตอบทางจดหมายเป็นประจำ (เช่น ประมาณเดือนละครั้ง)
เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ เดือน โดยติดต่อกับลูกเสือภายในประเทศ
หรือลูกเสือต่างประเทศเป็นรายบุคคล หรือในฐานะที่เป็นสมาชิก
ของหมู่หรือกองลูกเสือ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน
(๒) เลือกศึกษารายละเอียดของประเทศหนึ่งประเทศใดและอภิปราย
ปัญหากับกรรมการสอบ เกี่ยวกับข้อแตกต่างในการดำเนินชีวิต
ระหว่างประเทศของตนและประเทศอื่นๆที่ตนเลือก
(๓) ทำให้สำเร็จ ๑ อย่าง
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
41
ก.จัดทำสมุดภาพเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ เดือน เพื่อแสดงข่าวสาร
ที่มีภาพประกอบ (ภาพได้รับจากเพื่อนทางจดหมายตามข้อ ๑)
เกี่ยวกับกิจกรรมลูกเสือ กีฬา ชีวิตในบ้าน และงานระดับชาติ
ของประเทศอื่น
ข.เสนอภาพถ่าย ๑ ชุด ไม่น้อยกว่า ๒๐ ภาพ หรือภาพสไลด์สี
โดยมีฝีมือถ่ายภาพด้วยตนเองเพื่อประกอบการอธิบาย
เกี่ยวกับการลูกเสือ การดำรงชีวิต ประชาชน ขนบธรรมเนียม
ประเพณี และทัศนียภาพของประเทศอื่น
(๔)ทำให้สำเร็จ ๒ อย่าง จากข้อต่อไปนี้
ก.อยู่ค่ายพักแรม หรือเดินทางไกลเป็นเวลาอย่างน้อย ๗ วัน
กับเพื่อนลูกเสือหนึ่งคน หรือกับลูกเสือต่างประเทศ(ในประเทศ
หรือประเทศของเพื่อนลูกเสือก็ได้) และจัดทำสมุดบันทึก
รวบรวมเหตุการณ์เหล่านี้ซึ่งมีทั้งสิ่งประทับใจ และความรู้ที่
ได้รับจากเพื่อนลูกเสือในต่างประเทศ
ข.ให้การต้อนรับลูกเสือจากต่างประเทศ ในบ้านของตนเป็นเวลา
ไม่น้อยกว่า ๓ วัน
ค.รายงานให้กรรมการสอบทราบว่า ได้ต้อนรับแขกต่างประเทศ
ที่มาเยี่ยมโรงเรียน หรือพบปะกันในการแข่งขันกีฬา หรือที่
แห่งหนึ่งแห่งใดและได้ปฏิบัติอย่างไรให้เขามีความรู้สึกว่าเป็นกันเอง
ง.เล่าเรื่องให้กองลูกเสือสามัญของตน และกองลูกเสือสำรอง
(อย่างน้อยใช้เวลาครั้งละ ๕ นาที) เกี่ยวกับสิ่งที่น่าสนใจและ
ความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ในต่างประเทศ
จ.บันทึกเสียงเพลงชุมนุมรอบกองไฟจากต่างประเทศลงในเครื่อง
บันทึกเสียงหรือบันทึกเสียงจากการสนทนากับเพื่อนลูกเสืออื่น
โดยให้คำแปลเป็นภาษาไทยทุกประโยค
ฉ.วางแผนและจัดกิจกรรมของกองลูกเสือ หรือหมู่ลูกเสือ ๑ ครั้ง
โดยอาศัยความรู้ที่ได้รับจากลูกเสือต่างประเทศ ซึ่งตนได้ติดต่อ
ด้วยหรือจากความรู้ซึ่งท่านได้รับจากต่างประเทศ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
42
ข้อ ๔๘ มารยาทในสังคม
หลักสูตร
(๑) มีความรู้เกี่ยวกับสมบัติผู้ดีและปฏิบัติอยู่เป็นประจำ
(๒) มีความรู้เกี่ยวกับสังคมในท้องถิ่นของตนเป็นอย่างดี เช่น
ขนบธรรมเนียมประเพณี สถานที่สำคัญที่ควรรู้ บุคคลที่ควรรู้จัก เป็นต้น
(๓) รู้จักปฏิบัติในหัวข้อต่อไปนี้อย่างถูกต้องอย่างน้อย ๕ อย่าง คือ
ก.การร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่น
ข.การต้อนรับแขกผู้มาเยือน
ค.การเคารพผู้ใหญ่
ง.การสนทนากับผู้อื่นในที่ชุมชน
จ.การไปร่วมพิธีในงานศพ
ฉ.งานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานบวช เป็นต้น
ช.การโดยสารยานพาหนะ
ซ.การชมกีฬาในสนามแข่งขัน
ฌ.การร่วมพิธีสำคัญทางราชการ
ญ.การเข้าร่วมประชุม
(๔)มีมารยาทในการแต่งกายและการวางตน
ข้อ ๔๙ นิเวศวิทยา
หลักสูตร
(๑) ให้สามารถแสดงว่ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพ
สิ่งแวดล้อม บ้านเรือนที่อยู่อาศัยในหัวข้อต่อไปนี้
ก.การจัดบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
ข.ความสะอาดภายในบ้านและบริเวณ
ค.การขจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๒) ให้สามารถแสดงว่ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัย
ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
43
ก.การใช้และการเก็บรักษาของเครื่องใช้ทั่วไป
ข.การใช้ และการเก็บรักษาสิ่งของที่เป็นเครื่องไฟฟ้า
ค.ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
ง.การป้องกันโรคติดต่อ
(๓) ให้สามารถแสดงว่ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและ
ขจัดสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ
ก.ต้นเหตุของสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ
ข.อันตรายอันเกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ค.วิธีขจัดสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ
ง.วิธีป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ
(๔) ให้รู้จักแหล่งเสื่อมโทรมในสังคมท้องถิ่นของตน และรู้วิธีขจัดสิ่ง
เสื่อมโทรมนั้น
(๕) ให้เรียนรู้เรื่องภัยธรรมชาติ มีอัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย และ
การป้องกัน
ข้อ ๕๐ การพัฒนาชุมชน
หลักสูตร
(๑) ให้รู้จักความหมายของคำว่า “การพัฒนาชุมชน”
(๒) เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างการพัฒนาชุมชนกับการบริการชุมชน
(๓) ให้ลูกเสือทำบัญชีความต้องการขั้นต้นในท้องถิ่นที่ตนอยู่สัก ๕ อย่าง
แล้วเสนอไปยังผู้กำกับลูกเสือและผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ ตามลำดับ
(๔) ดำเนินการให้ที่ประชุมนายหมู่ วางแผนช่วยในการพัฒนาท้องถิ่นที่
ตนอยู่ไม่น้อยกว่า ๑ โครงการ และใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๒ เดือน โดย
ตัวเองมีส่วนร่วมกับหมู่หรือกองลูกเสือ ในการช่วยพัฒนาความ
เป็นอยู่ของประชาชนในตำบลนั้นให้ดีขึ้น
(๕) เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานไปยังผู้กำกับกลุ่มหรือผู้กำกับลูกเสือ
เพื่อทราบ และเพื่อไปตรวจเยี่ยมบริเวณท้องถิ่นที่ลูกเสือได้มีส่วนร่วม
ในการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น
ข้อ ๕๑ การใช้พลังงานทดแทน
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
44
หลักสูตร
มีความรู้ความเข้าใจต่อสภาพการณ์ที่มนุษย์จำเป็นต้องนำเอา
พลังงานต่างๆที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ทดแทนพลังเชื้อเพลิงของโลก
ที่กำลังขาดแคลน และนับวันจะหมดสิ้นไป
(๑) การใช้พลังจากลม
ก.สูบน้ำ วิดน้ำ
ข.ผลิตกระแสไฟฟ้า
ค.แล่นเรือใบ
ง.สีข้าว โม่เมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ
(๒) การใช้พลังนํ้า
ก.ผลิตกระแสไฟฟ้า
ข.พลังงานกลในรูปต่างๆ
(๓) การใช้พลังแสงแดด
ก.ทำน้ำให้ร้อน
ข.ก่อไฟ
ค.อบพืชพันธุ์ธัญญาหาร
ง.เซลล์สุริยะ (ผลิตกระแสไฟฟ้า)
(๔) การใช้พลังของท้องถิ่น
ก.ไม้ฟืน แกลบ ใบไม้หญ้าที่แห้ง ขี้เลื่อย
ข.หินน้ำมัน ถ่านหิน ลิกไนต์
ค.แก๊สธรรมชาติ แก๊สชีวภาพ (จากมูลสัตว์)
ง.แอลกอฮอล์
ข้อ ๕๒ ลูกเสือโทพระมงกุฎเกล้าฯ
หลักสูตร
(๑) รู้ท่าฝึกหัดแถวขั้นต้น คือ ท่าตรง ท่าเดิน ท่าหันในเวลาเดิน
เรียง ๒ เรียง ๔
(๒) สัญญาณนกหวีด สัญญาณไฟ และสัญญาณมือ
(๓) เดินสะกดรอยเป็นระยะทาง ๒๐ เส้น ใน ๒๕ นาที
(๔) จำสิ่งของที่กำหนดให้ ต้องจำได้ ๑๖ สิ่ง ใน ๒๔ สิ่ง
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
45
(๕) เดินเสือได้ ๔๐ เส้น ต่อ ๑๒ นาที
(๖) กองไฟและจุดในที่แจ้ง กำหนดให้ใช้ไม้ขีดไม่เกิน ๓ ก้าน
(๗) รู้จักผูกมัดให้แน่น (เงื่อนต่างๆอย่างน้อย ๑๐ เงื่อน)
(๘) ว่ายน้ำเป็น คือว่ายน้ำได้ไกลพอสมควรแก่อายุและร่างกาย
(๙) รู้จักทิศ ทั้งทิศใหญ่ ทิศเฉียง รวม ๑๖ ทิศ ต้องเรียกชื่อและชี้ได้ถูก
(๑๐) รู้จักอวัยวะต่างๆที่สำคัญของร่างกาย และหน้าที่ของอวัยวะนั้นๆ
ข้อ ๕๓ ลูกเสือเอกพระมงกุฎเกล้าฯ
หลักสูตร
(๑) ขึ้นต้นไม้
(๒) ทำสัญญาณด้วยกองไฟ
(๓) เดินไปแห่งหนึ่งแห่งใด ระยะทางประมาณ ๓๐๐ เส้น แล้วกลับมา
หรือจะไปทางเรือแจว เรือพาย ระยะทางเท่ากันก็ได้ แล้วกลับมา
ยอมให้เวลา ๒ วัน คือให้ค้างได้คืนหนึ่ง เมื่อกลับมาแล้วต้องทำ
รายงานยื่นต่อผู้กำกับ(แต่รถไฟ รถยนต์ เรือกลไฟ เรือยนต์ ห้ามมิให้ใช้)
(๔) รู้จักทำให้โลหิตหยุด วิธีพันแผล รู้วิธีช่วยคนจมน้ำ วิธีแก้คนจมน้ำให้ฟื้น
ร่างกายถูกไฟ คนเป็นลม คนถูกอสรพิษ (อย่างน้อยต้องรู้ดี ๓ อย่าง)
(๕) หุงข้าว นึ่งข้าว หรือหลามข้าว และทำกับข้าวอย่างหนึ่งที่พอจะกินได้
ในเวลาเดินทางกลางป่า
(๖) อ่านแผนที่เข้าใจ เขียนแผนที่แบบตรวจทาง และชี้ทิศได้โดย
ไม่ต้องอาศัยเข็มทิศ
(๗) ตัดไม้ไผ่ หรือกิ่งไม้ย่อมๆพอใช้ในการค่ายได้ และทำสิ่งของใช้ที่
จำเป็นได้ในการเดินป่า
(๘) คะเนระยะทาง ส่วนกว้าง ส่วนสูง จำนวน และน้ำหนัก มิให้
คลาดเคลื่อนไปกวา่ ส่วน ๑ ใน ๔
(๙) รู้จักรับและส่งสัญญาณธงได้ตามแบบเสือป่า เร็วช้าพอสมควร
(๑๐) รู้จักสั่งสอนเด็กจนมีความรู้เป็นลูกเสือสำรองได้
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
(ฉบับที่๑๓) พ.ศ.๒๕๒๕
46
ข้อ ๕๔ สายยงยศ
หลักสูตร
(๑) ได้ลูกเสือเอกมาแล้ว
(๒) สอบวิชาพิเศษลูกเสือสามัญได้ ๖ วิชา ซึ่งมีวิชาพิเศษต่อไปนี้
ในข้อ ก. ๑ วิชา และข้อ ข. ๑ วิชา รวมอยู่ด้วย
ก.นักผจญภัยในป่า, นักสำรวจ หรือนักบุกเบิก
ข.ชาวค่าย, ผู้ประกอบอาหารในค่าย, นักธรรมชาติศึกษา,
นักดาราศาสตร์เบื้องต้น หรือนักอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น