๑. เงื่อนตะกรุดเบ็ด ( Cleve Hitch )![]() ประโยชน์ ๑. ใช้ผูกเชือกกับเสาหรือหลักเพื่อล่ามสัตว์เลี้ยงหรือเรือแพ(เพื่อป้องกันไม่ให้ ปมเชือกคลายหลุดควรเอาปลายเชือกผูกขัดสอดกับตัวเชือก ๑ รอบ ) ๒. ใช้ผูกบันไดเชือก บันไดลิง ผูกกระหวัดไม้ ๓. ใช้ในการผูกแน่น เช่น ผูกประกบ ผูกกากบาท ๒. เงื่อนพิรอด ( Reef Knot หรือ Square Knot )![]() ประโยชน์ ๑. ใช้ต่อเชือก ๒ เส้น ที่มีขนดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน ๒. ใช้ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้าทำสลิงคล้องคอ ๓. ใช้ผูกมัดหีบห่อ และวัตถุต่าง ๆ ๔. ผูกเชือกรองเท้า ( ปลายกระตุก ๒ ข้าง ) และผูกโบว์ ๕. ใช้ผูกกากบาทญี่ปุ่น ๖. ใช้ต่อผ้าเพื่อให้ได้ความยาวตามต้องการเพื่อช่วยคนที่อยู่ที่สูงในยามฉุกเฉิน ( ต้องเป็นผ้าเหนียว ๆ ) ๓. เงื่อนขัดสมาธิ ( Sheet Bend )![]() ประโยชน์ ๑. ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน (เส้นเล็กเป็นเส้นพันขัด) หรือต่อเชือกที่มีขนาด เดียวกันก็ได้ ๒.ใช้ต่อเชือกแข็งกับเชือกอ่อน(เส้นอ่อนเป็นเส้นพันขัด) ๓.ใช้ต่อเชือกที่ค่อนข้างแข็งเช่นเถาวัลย์ ๔.ใช้ต่อด้ายต่อเส้นไหมทอผ้า ๕. ใช้ผูกเชือกกับขอหรือบ่วง (ใช้เชือกเล็กเป็นเส้นผูกขัดกับบ่วงหรือขอ) เช่น ผูกเชือกกับธงเพื่อเชิญธงขึ้น – ลง ๔. เงื่อนผูกร่น หรือ ทบเชือก (Sheepshank)![]() ประโยชน์ ๑. ใช้ผูกร่นเชือกตรงส่วนที่ชำรุดเล็กน้อย เพื่อให้เชือกมีกำลังเท่าเดิม ๒. เป็นการทบเชือกให้เกิดกำลังลากจูง ๓. การร่นเชือกที่ยาวมากๆ ให้สั้น ตามต้องการ ๕. เงื่อนกระหวัดไม้ (Two Haft Hitch)![]() ประโยชน์ ๑. ใช้ผูกชั่วคราวกับห่วง หรือกับรั่ว กับกิ่งไม้ ๒. แก้ง่าย แต่มีประโยชน์ ๓. ผูกเชือกสำหรับโหน ๖. เงื่อนบ่วงสายธนู ( Bowline ) ใช้ทำเป็นบ่วงที่มีขนาดที่ไม่เลื่อนไม่รูดประโยชน์๑. ทำบ่วงคล้องกับเสาหลักหรือวัตถุ เช่น ผูกเรือ แพไว้กับหลัก ทำให้เรือแพขึ้น – ลงตามน้ำได้๒. ทำบ่วงคล้องเสาหลัก เพื่อผูกล่ามสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย เพื่อให้สัตว์เดิน หมุนได้รอบ ๆเสาหลักเชือกจะไม่พันรัดคอสัตว์ ๓. ใช้ทำบ่วงให้คนนั่ง เพื่อหย่อนคนลงสู่ที่ต่ำหรือดึงขึ้นสู่ที่สูง ๔. ใช้คล้องคันธนู เพื่อโก่งคันธนู ๕. ใช้ทำบ่วงต่อเชือกเพื่อการลากโยงของหนัก ๆ หรือทำบ่วงบาศ ๖.ใช้ผูกปลายเชือก ผูกถังตั้งถังนอน ๗.เงื่อกผูกรั้ง ( Tarbuck Knot )![]() ประโยชน์ ๑. ใช้ผูกสายเต็นท์ ยึดเสาธงกันล้ม ใช้รั้งต้นไม้ ๒. เป็นเงื่อนเลื่อนให้ตึงหรือหย่อนตามต้องการได้ ๘.เงื่อนประมง (Fishirman’s Knot)![]() ประโยชน์ ๑. ใช้ต่อเส้นด้ายเล็ก ๆ เช่น ด้ายเบ็ด ต่อเส้นเอ็น ๒. ใช้ต่อเชือก ๒ เส้นที่มีขนาดเดียวกัน ๓. ใช้ผูกคอขวดสำหรับถือหิ้ว ๔. ต่อเชือกขนาดใหญ่ที่ลากจูง ๕. ใช้ต่อสายไฟฟ้า ๖. ใช้ผูกเรือแพกับท่าเรือหรือกับหลักหรือห่วง ๗. เป็นเงื่อนที่ผูกง่ายแก้ง่าย ๙. เงื่อนผูกซุง ( A Timber Hitch )![]() ประโยชน์ ๑. ใช้ผูกวัตถุท่อนยาว ก้อนหิน ต้นซุง เสา เพื่อการลากโยง ๒. ใช้ผูกทแยง ๓. ใช้ผูกสัตว์ เรือแพไว้กับท่าหรือเสาหรือรั้ว ต้นไม้ ๔. เป็นเชือกผูกง่ายแก้ง่าย ๑๐.เงื่อนเก้าอี้(Chair Knot or ireman’s Chair Knot)![]() ![]() ประโยชน์ เป็นเงื่อนกู้ภัยใช้ช่วยคนที่ติดอยู่บนที่สูง ไม่สามารถลงทางบันไดได้ หรือ ใช้ช่วยคนขึ้นจากที่ต่ำ ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับบ่วงสายธนู ๒ ชั้นยึดกันแน่น โดยมีสิ่งของอยู่ตรงกลางภายในบ่วงเพื่อดึงลากสิ่งของไป ระหว่างจุด ๒ จุด เงื่อนผูกแน่น(Lashing ) มี๓ ชนิด ได้แก่๑. ผูกประกบ ( Sheer Lasning )๒. ผูกกากบาท ( Square Lashing ) ๓. ผูกทแยง ( Diagonal Lashing ) ผูกประกบ มีหลายวิธี เช่น ผูกประกบ ๒ ประกบ ๓ ผูกประกบ ๒ ใช้ต่อเสาหรือไม้ ๒ ท่อนเข้าด้วยกัน![]() วิธีผูก เอาไม้ที่จะต่อกันวางขนานกัน ให้ส่วนที่จะผูกวางซ้อนกันประมาณ ๑/๔ ของความยาว( ต่อแล้วเสาจะตรง ) เอาเชือกที่จะผูกผูกด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ดที่เสา ต้นหนึ่งเอาปลายเชือกพันบิดเข้ากับตัวเชือก (แต่งงานกัน) เอาลิ่มหนาเท่าเส้นเชือก คั่นระหว่างเสาทั้งสองรูป จัดให้เงื่อนอยู่ใกล้ ๆปลายเสาด้านที่ซ้อนกันแล้วจับตัวเชือก พันรอบเสาทั้งสองจากปลายเสาเข้าใน เรียงเส้นเชือกให้เรียบพันให้เท่าความกว้าง ของเสาทั้ง ๒ ต้น ดังรูป ๒ เสร็จแล้วพันสอดเชือกเข้าระหว่างไม้เสาทั้งสองพัน หักคอไก่ พันรอบเชือกที่พันเสาทั้ง ๒ ต้น ดึงรัดให้แน่น รูป ๓ แล้วผูกด้วยตะกรุด เบ็ดบนเสาอีกต้นหนึ่ง( คนละต้นกับอันขึ้นต้น ) เหน็บซ่อนปลายเชือกให้เรียบร้อย ผูกประกบ ๓ เอาไม้ ๓ ท่อนมาเรียงขนานกัน วิธีผูก เริ่มผูกตะกรูดเบ็ดที่เสาอันกลางเอาปลายเชือกแต่งงานกันกับตัวเชือก แล้วเอาเชือกพันรอบเสาทั้ง ๓ ต้น เรียงเส้นเชือกให้เรียบร้อย พันให้มีความกว้าง เท่าเสาทั้ง ๓ ต้น ( ก่อนพันอย่าลืมเอาลิ่มขนาดเส้นเชือกคั่นระหว่างเสา ) พันเสร็จแล้วหักคอไก่ระหว่างซอกเสาทั้ง ๓ ต้นให้แน่นแล้วผูกลงท้ายด้วยเงื่อน ตะกรูดเบ็ดทีเสาต้นริมต้นใดต้นหนึ่งเก็บซ่อนปลายเชือกให้เรียบร้อย ผูกกากบาท (Square Lashing ) | ||||
เป็นเครื่องหมายที่ติดไว้ที่แขนเสื้อของลูกเสือ และเนตรนารี (ประเทศไทย)ทำจากผ้าพื้นสีเลือดหมูเย็บเป็นรูปเครื่องหมายตรงกลางด้วยด้ายสีทอง และเย็บขอบผ้าทั้งสี่ด้าน
เครื่องหมายลูกเสือ,เนตรนารี,ประวัติ,การผูกเงื่อน
เงื่อนเชือก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ขอบคุณ
ตอบลบได้รื้อฟื้นความรู้เก่าๆเยี่ยมจริงๆครับ
ตอบลบได้รื้อฟื้นความรู้เก่าๆเยี่ยมจริงๆครับ
ตอบลบ